วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

คาบเรียนที่ 8

ชื่อวิชา  (ภาษาไทย)             การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ชื่อวิชา  (ภาษาอังกฤ)        Child Care for Early Childhood 
รหัสวิชา    EAED 110         3จำนวนหน่วยกิต  3(3-0-6)    
ผู้สอน        ว่าที่ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด

รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู
               ความแตกต่างของเด็กขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูที่ต่างกัน ซึ่งส่งผลถึงนิสัยที่จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
การอบรมเลี้ยงดูลูกมีวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
               1.  การอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย
                               เป็นการอบรมเลี้ยงดูลูก ซึ่งได้แก่ ความรัก ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ ต้องใช้เหตุผลกับลูกให้ลูกรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติด้านความยุติธรรม และไม่ใช้เพียงแต่ให้ความรักอย่างเดียว ต้องให้ความสำคัญแก่ลูก โดยถือว่าลูกคือส่วนสำคัญต่อครอบครัว พ่อแต้องให้ในสิ่งที่ลูกต้องการจริง ๆ
หลักการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่จะทำได้คือ
1.  พ่อแม่ให้สิทธิแก่ลูกในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวให้เขาเป็นตัวเองให้มากที่สุด จะต้องไม่คิดแทนลูก ฝึกให้เขาทำได้คิดตัวเอง
2.  พ่อแม่มีหน้าที่ให้สิ่งต่าง ๆ ตรงกับพัฒนการตามความต้องการเหมาะสม และความสามารถทางร่างกาย
3.  พ่อแม่ควรต้องเอาใจใส่ ต่อควาทคิดเห็นของลูก สนใจกิจกรรมต่าง ๆ ของลูก ให้คำแนะนำ สิ่งเสริมและเฝ้าดูผลสำเร็จในงานของลูกด้วยความตั้งใจและอดทน
4.  พ่อแม่ควรมีเวลาใกล้ชิดลูก และทำตัวเป็นเพื่อนที่ดีของลูก ให้คำแนะนำมากกว่าการออกคำสั่งให้ทำ ควรเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตยไม่ใช่เผด็จการ เพราะจะช่วยให้เด็กได้เติบโตอย่างมีอิสระตามพัฒนาการขั้นต่างๆ
5.  พ่อแม่ควรใช้แรงเสริมเป็นตัวสร้างบุคลิกภาพของเด็กตามที่ต้องการจะให้เด็กเป็น พ่อแม่จะต้องเป็นแบบอย่างโดยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ลูกเห็นอย่างเด่นชัด
6.  พ่อแม่ควรส่งเสริมความเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ลูก โดยให้อิสระแก่ลูกควบคู่ไปกับการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทำให้ทั้งสองสิ่งมีความสมดุลกันขึ้นในตัวของลูก
7.  พ่อแม่ควรจะใช้วิธีการลงโทษให้เหมาะสม ทฤษฏีของโคเบอร์ก กล่าวว่า เด็กอายุ 1-7 ปี การทำโทษทางกายยังใช้ได้ดี เพราะทำให้เกิดการเรียนรู้ การตีเด็ก ควรตีเพราะสั่งสอนมิใช่เพราะโกรธ
8.  การฝึกวินัยให้ลูกเป็นสิ่งจำเป็น ควรเริ่มทำในเมื่อลูกโตพอที่จะเข้าใจเหตุผล การยัดเยียดให้เด็กมีระเบียบวินัยมากเกินไปในขณะที่เด็กยังไม่พร้อม จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน เอาแต่ใจ
9.  พ่อแม่ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ลูกเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
10. พ่อแม่ควรช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทีจะอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสุข โดยเฉพาะในเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กได้ปรับตัวเข้ากับสังคม และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
               ผลของการเลี้ยงลกแบบประชาธิปไตย เด็กจะมีลักษณะ ดังนี้
               - จะเป็นคนเปิดเผย เป็นตัวของตัวเอง มีเหตุผล
               - มีความรับผิดชอบ
               - มีอารมณ์ขัน ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี
               - เรียนรู้อะไร ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
               - สามารถปรับตัวได้ดี และกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ
               - สามารถช่วยเหลือตนเองและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
               - มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
               - มีลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี
               - ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์
               - มีความเข้าใจตนเองสูง และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
               - รู้จักใช้เหตุผล เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น
               วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูลูกแบบคาดหวังเอากับเด็ก  วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่มักทำดังนี้
               1. เคี่ยวเข็ญให้ลูกทำตามสิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีเท่านั้น
               2. มักจะดุด่าว่ากล่าวเมื่อเวลาที่ลูกอธิบายหรือแสดงเหตุผลคัดค้าน
               3. กำหนดรายการอาหารทุกมื้อแก่ลูก และลูกต้องกินหมดทุกครั้ง
               4. กำหนดวิธีการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเล่น การเที่ยว ขึ้นอยู่กับพ่อแม่
               ผลของการเลี้ยงลูกแบบคาดหวังเอากับเด็ก  เด็กจะมีลักษณะดังนี้
               - ลูกจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ ปรับตัวกับสังคมภายนอกได้ยาก
               - ไม่มีความมั่นใจในตนเอง
               - ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง
               - ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
               - ชอบพึ่งพาผู้ใหญ่
               วิธีที่ 3  การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย   วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่มักจะทำ
               1. ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของลูก ลูกจะเลนอะไร อย่างไร พ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่
               2. เวลาพ่อแม่อารมณ์ไม่ดี มักจะระบายออกด้วยการทำโทษเด็กเสมอ
               3. เวลาลูกถามมักพูดว่า “อย่ามากวนใจ ไปให้พ้น”
               4. ชอบพูดขู่ลูกเสมอเวลาลูกเล่นซน ถ้าเด็กไม่กลัวก็จะตีลูกอย่างรุนแรง
               5. ปล่อยให้ลูกทำอะไรต่าง ๆ ตามใจชอบ ไม่ค่อยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมให้
               6. มักรักลูกไม่เท่ากัน โดยปฏิบัติตนกับลูกอย่างลำเอียง
               ผลของการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย  เด็กจะมีลักษณะดังนี้
               - ลูกจะมีลักษณะก้าวร้าว ชอบทะเลาะเบาะแว้วกับผู้อื่นบ่อย ๆ
               - มีทัศนคติไม่ดีต่อพ่อแม่ บางครั้งถึงกับเกลียดชังพ่อแม่ตัวเอง ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
               - ลูกมีอาการเซื่องซึม ไม่สามารถปรับตัวได้ง่าย มีความตึงเครียดทางอารมณ์
               วิธีที่ 4  การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป  การเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่มักจะทำดังนี้
               1. คอยชี้แนะช่วยเหลือเพื่อนตลอดเวลา
               2. ไม่ยอมให้ลูกเล่นกับเพื่อน ๆ เพราะกลัวลูกจะถูกรังแก
               3. ไม่ยอมให้เด็กกินอาหารเอง เพราะกลัวจะทำเลอะเทอะ
               4. มักช่วยลูกทำการบ้านเสมอ
               5. ไม่ยอมให้ลูกกินอาหารหรือขนม จนกว่าพ่อแม่จะได้ชิมเสียก่อน
               6. เมื่อลูกเจ็บป่วยเล็กน้อย พ่อแม่จะวิตกกังวลมาก
               7. ไม่ยอมให้ลูกได้ช่วยตนเองเวลาทำงานต่าง ๆ
               ผลของการเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป  เด็กมีลักษณะดังนี้
-                   เป็นเด็กที่เอาแต่ใจตนเอง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเชื่อมั่นในตนเอง
-                   คอยพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ พึ่งตนเองไม่ได้
-                   ไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้วยตนเอง ปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ยาก
-                   มีแนวโน้มสุขภาพจิตเสีย และมีอาการทางประสาท

การอบรมเลี้ยงดูลูกในวัยเด็กเล็กในสังคมปัจจุบันพ่อแม่
            โดยทั่วไปพ่อแม่มุ่งที่จะฝึกฝนอบรมลูก ดังนี้
            - เป็นคนที่มีความเป็นระเบียบและความรับผิดชอบ
            - เป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร
            - เป็นคนที่รู้จักประหยัด
            - เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์
            - เป็นคนที่มีเหตุผล
            - เป็นคนที่มีความประพฤติดีมีจริยธรรม และรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี
การฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
            - ฝึกให้แต่งกายเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ
            - กำหนดเวลากิจกรรมและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆตามเวลาที่เหมาะสม
            - รู้จักการทำงานอย่างมีขั้นตอน รับผิดชอบต่องาน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น