วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

คาบเรียนที่ 8

ชื่อวิชา  (ภาษาไทย)             การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ชื่อวิชา  (ภาษาอังกฤ)        Child Care for Early Childhood 
รหัสวิชา    EAED 110         3จำนวนหน่วยกิต  3(3-0-6)    
ผู้สอน        ว่าที่ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด

รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู
               ความแตกต่างของเด็กขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูที่ต่างกัน ซึ่งส่งผลถึงนิสัยที่จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
การอบรมเลี้ยงดูลูกมีวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
               1.  การอบรมเลี้ยงดูแบบให้ความรักความอบอุ่นแบบประชาธิปไตย
                               เป็นการอบรมเลี้ยงดูลูก ซึ่งได้แก่ ความรัก ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ ต้องใช้เหตุผลกับลูกให้ลูกรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติด้านความยุติธรรม และไม่ใช้เพียงแต่ให้ความรักอย่างเดียว ต้องให้ความสำคัญแก่ลูก โดยถือว่าลูกคือส่วนสำคัญต่อครอบครัว พ่อแต้องให้ในสิ่งที่ลูกต้องการจริง ๆ
หลักการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่จะทำได้คือ
1.  พ่อแม่ให้สิทธิแก่ลูกในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวให้เขาเป็นตัวเองให้มากที่สุด จะต้องไม่คิดแทนลูก ฝึกให้เขาทำได้คิดตัวเอง
2.  พ่อแม่มีหน้าที่ให้สิ่งต่าง ๆ ตรงกับพัฒนการตามความต้องการเหมาะสม และความสามารถทางร่างกาย
3.  พ่อแม่ควรต้องเอาใจใส่ ต่อควาทคิดเห็นของลูก สนใจกิจกรรมต่าง ๆ ของลูก ให้คำแนะนำ สิ่งเสริมและเฝ้าดูผลสำเร็จในงานของลูกด้วยความตั้งใจและอดทน
4.  พ่อแม่ควรมีเวลาใกล้ชิดลูก และทำตัวเป็นเพื่อนที่ดีของลูก ให้คำแนะนำมากกว่าการออกคำสั่งให้ทำ ควรเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตยไม่ใช่เผด็จการ เพราะจะช่วยให้เด็กได้เติบโตอย่างมีอิสระตามพัฒนาการขั้นต่างๆ
5.  พ่อแม่ควรใช้แรงเสริมเป็นตัวสร้างบุคลิกภาพของเด็กตามที่ต้องการจะให้เด็กเป็น พ่อแม่จะต้องเป็นแบบอย่างโดยแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ลูกเห็นอย่างเด่นชัด
6.  พ่อแม่ควรส่งเสริมความเป็นคนมีสุขภาพจิตที่ดีให้แก่ลูก โดยให้อิสระแก่ลูกควบคู่ไปกับการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ทำให้ทั้งสองสิ่งมีความสมดุลกันขึ้นในตัวของลูก
7.  พ่อแม่ควรจะใช้วิธีการลงโทษให้เหมาะสม ทฤษฏีของโคเบอร์ก กล่าวว่า เด็กอายุ 1-7 ปี การทำโทษทางกายยังใช้ได้ดี เพราะทำให้เกิดการเรียนรู้ การตีเด็ก ควรตีเพราะสั่งสอนมิใช่เพราะโกรธ
8.  การฝึกวินัยให้ลูกเป็นสิ่งจำเป็น ควรเริ่มทำในเมื่อลูกโตพอที่จะเข้าใจเหตุผล การยัดเยียดให้เด็กมีระเบียบวินัยมากเกินไปในขณะที่เด็กยังไม่พร้อม จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน เอาแต่ใจ
9.  พ่อแม่ควรสร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้ลูกเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
10. พ่อแม่ควรช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ทีจะอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสุข โดยเฉพาะในเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กได้ปรับตัวเข้ากับสังคม และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
               ผลของการเลี้ยงลกแบบประชาธิปไตย เด็กจะมีลักษณะ ดังนี้
               - จะเป็นคนเปิดเผย เป็นตัวของตัวเอง มีเหตุผล
               - มีความรับผิดชอบ
               - มีอารมณ์ขัน ร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี
               - เรียนรู้อะไร ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
               - สามารถปรับตัวได้ดี และกล้าแสดงออกอย่างมั่นใจ
               - สามารถช่วยเหลือตนเองและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
               - มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
               - มีลักษณะของการเป็นผู้นำที่ดี
               - ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นได้ดี มีความมั่นคงทางอารมณ์
               - มีความเข้าใจตนเองสูง และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
               - รู้จักใช้เหตุผล เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น
               วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูลูกแบบคาดหวังเอากับเด็ก  วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่มักทำดังนี้
               1. เคี่ยวเข็ญให้ลูกทำตามสิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีเท่านั้น
               2. มักจะดุด่าว่ากล่าวเมื่อเวลาที่ลูกอธิบายหรือแสดงเหตุผลคัดค้าน
               3. กำหนดรายการอาหารทุกมื้อแก่ลูก และลูกต้องกินหมดทุกครั้ง
               4. กำหนดวิธีการดำรงชีวิตตั้งแต่เกิด ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเล่น การเที่ยว ขึ้นอยู่กับพ่อแม่
               ผลของการเลี้ยงลูกแบบคาดหวังเอากับเด็ก  เด็กจะมีลักษณะดังนี้
               - ลูกจะเป็นคนเจ้าอารมณ์ ปรับตัวกับสังคมภายนอกได้ยาก
               - ไม่มีความมั่นใจในตนเอง
               - ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง
               - ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
               - ชอบพึ่งพาผู้ใหญ่
               วิธีที่ 3  การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย   วิธีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้พ่อแม่มักจะทำ
               1. ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของลูก ลูกจะเลนอะไร อย่างไร พ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่
               2. เวลาพ่อแม่อารมณ์ไม่ดี มักจะระบายออกด้วยการทำโทษเด็กเสมอ
               3. เวลาลูกถามมักพูดว่า “อย่ามากวนใจ ไปให้พ้น”
               4. ชอบพูดขู่ลูกเสมอเวลาลูกเล่นซน ถ้าเด็กไม่กลัวก็จะตีลูกอย่างรุนแรง
               5. ปล่อยให้ลูกทำอะไรต่าง ๆ ตามใจชอบ ไม่ค่อยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสมให้
               6. มักรักลูกไม่เท่ากัน โดยปฏิบัติตนกับลูกอย่างลำเอียง
               ผลของการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย  เด็กจะมีลักษณะดังนี้
               - ลูกจะมีลักษณะก้าวร้าว ชอบทะเลาะเบาะแว้วกับผู้อื่นบ่อย ๆ
               - มีทัศนคติไม่ดีต่อพ่อแม่ บางครั้งถึงกับเกลียดชังพ่อแม่ตัวเอง ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่
               - ลูกมีอาการเซื่องซึม ไม่สามารถปรับตัวได้ง่าย มีความตึงเครียดทางอารมณ์
               วิธีที่ 4  การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป  การเลี้ยงดูแบบนี้ พ่อแม่มักจะทำดังนี้
               1. คอยชี้แนะช่วยเหลือเพื่อนตลอดเวลา
               2. ไม่ยอมให้ลูกเล่นกับเพื่อน ๆ เพราะกลัวลูกจะถูกรังแก
               3. ไม่ยอมให้เด็กกินอาหารเอง เพราะกลัวจะทำเลอะเทอะ
               4. มักช่วยลูกทำการบ้านเสมอ
               5. ไม่ยอมให้ลูกกินอาหารหรือขนม จนกว่าพ่อแม่จะได้ชิมเสียก่อน
               6. เมื่อลูกเจ็บป่วยเล็กน้อย พ่อแม่จะวิตกกังวลมาก
               7. ไม่ยอมให้ลูกได้ช่วยตนเองเวลาทำงานต่าง ๆ
               ผลของการเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป  เด็กมีลักษณะดังนี้
-                   เป็นเด็กที่เอาแต่ใจตนเอง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความเชื่อมั่นในตนเอง
-                   คอยพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ พึ่งตนเองไม่ได้
-                   ไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้วยตนเอง ปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ยาก
-                   มีแนวโน้มสุขภาพจิตเสีย และมีอาการทางประสาท

การอบรมเลี้ยงดูลูกในวัยเด็กเล็กในสังคมปัจจุบันพ่อแม่
            โดยทั่วไปพ่อแม่มุ่งที่จะฝึกฝนอบรมลูก ดังนี้
            - เป็นคนที่มีความเป็นระเบียบและความรับผิดชอบ
            - เป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร
            - เป็นคนที่รู้จักประหยัด
            - เป็นคนที่มีความซื่อสัตย์
            - เป็นคนที่มีเหตุผล
            - เป็นคนที่มีความประพฤติดีมีจริยธรรม และรู้จักขนบธรรมเนียมประเพณี
การฝึกให้ลูกเป็นคนที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
            - ฝึกให้แต่งกายเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ
            - กำหนดเวลากิจกรรมและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆตามเวลาที่เหมาะสม
            - รู้จักการทำงานอย่างมีขั้นตอน รับผิดชอบต่องาน




วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

คาบเรียนที่ 7

ชื่อวิชา  (ภาษาไทย)             การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ชื่อวิชา  (ภาษาอังกฤ)        Child Care for Early Childhood 
รหัสวิชา    EAED 110         3จำนวนหน่วยกิต  3(3-0-6)    
ผู้สอน        ว่าที่ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด


นำเสนอบทความ
บทความ เรื่อง การเล่นสำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

 มีหลายคนสงสัยว่า “ทำไมเด็กชอบเล่น วันๆ หนึ่งเอาแต่เล่น เล่นโน่นเล่นนี่ ไม่รู้จักเบื่อ เล่นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เล่นแล้วได้อะไร แล้วควรจะทำยังไงดีกับการชอบเล่นของเด็ก” นี่คือคำถาม หรือคำบ่นของผู้ใหญ่โดยเฉพาะพ่อ แม่ ผู้ปกครองหรือแม้กระทั่งครูบางคน
                                  ในสังคมและในวัฒนธรรมที่มีความหลากกหลายของโลกใบนี้ มนุษย์เราสามารถเรียนรู้ได้ และพัฒนาได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยคนส่วนมาก หรือวัฒนธรรมหนึ่งที่คนเรานึกถึงในการพัฒนาก็คือ วิชาการ ซึ่งมุ่งเน้นในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ จากสิ่งที่เกิดขึ้นภายนอก ซึ่งหากใครต้องการเป็นคนเก่ง หรือผู้ใหญ่ต้องการพัฒนาเด็กหรือต้องการให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ต้องส่งเสริมทางวิชาการมากๆ ต้องเรียน ต้องอ่าน ต้องเขียนหรือต้องท่องจำมากๆ 
                                   แต่ “การเล่น” กลับเป็นสิ่งที่หลายๆ คนมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ เรื่องไม่สำคัญ หรือเรื่องที่ไม่ควรสนใจ แต่หารู้ไม่ว่าเรื่องไร้สาระกลับเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการสร้างการเรียนรู้และการพัฒนาด้านต่างๆให้แก่เด็ก ไม่ว่าจะเป็นการเล่นรูปแบบใด เพราะเด็กจะมีกระบวนการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเล่น และเป็นสิ่งสะท้อนวัฒนธรรม สังคมของเด็กแต่ละคน แต่ละชาติพันธ์ ซึ่งถ้ามองอย่างจริงจังแล้วไม่ใช่มีเพียงเด็กปฐมวัยเท่านั้นที่ชอบเล่นหรือเรียนรู้จากการเล่น แม้กระทั่งเด็กที่มีระดับสูงขึ้นไปกว่าเด็กปฐมวัยหรือผู้ใหญ่ก็ยังเรียนรู้ผ่านการเล่นในรูปแบบต่างๆเช่นกัน  
                                   ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยจึงควรหันมาให้ความสนใจกับการเล่นของเด็กให้มากขึ้น ควรมีความรู้ ความเข้าใจในการเล่น รูปแบบการเล่น หรือประโยชน์จากการเล่น เพื่อจะได้เข้าใจเด็ก และสามารถพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กได้จากการเล่นได้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งมีนักจิตวิทยาหลายคนได้ให้ความสำคัญกับการเล่นไว้ และที่น่าสนใจ คือ  ไวก็อตสกี้ (Vygotsky)  ซึ่งมีนักวิชาการหลายท่านทั้งในประเทศและต่างประเทศได้กล่าวถึงทฤษฎีของเขาอย่างหลากหลายและกว้างขวาง  ซึ่งผู้เขียนจึงอย่างนำเสนอมุมมองของ ไวก็อตกี้ (Vygotsky)   ที่เขาได้ศึกษาและให้ความสำคัญกับการเล่น โดยเฉพาะในช่วงแรกของชีวิตหรือในช่วงวัยเด็กปฐมวัย  เขาไม่เพียงแต่มองที่การเล่นภายนอกของเด็กเท่านั้น เขายังมองถึงเบื้องหลังและเจาะลึกถึงประวัติที่ซ่อนอยู่ภายใต้การเล่นของเด็ก หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากภายในตัวของเด็กจากการเล่นของเด็กปฐมวัยอีกด้วย  ซึ่ง ไวก็อตกี้ (Vygotsky)  ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นที่ส่งผลต่อการพัฒนาเด็กไว้หลายมุมมอง ซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอดังนี้  
                                ไวก็อตสกี้ (Vygosky : 1978) เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซีย His most productive years were at the Institute of Psychology in Moscow (1924-34), where he expanded his ideas on cognitive development, particularly the relationship between language and thinking.  จบการศึกษาในปี 1913 ได้รับเหรียญทองจากชาวยิวยิมเอกชนในรัสเซีย แม่ของเขา Fluent in French and German, he studied philosophy and literature at Shanyavsky People’s University while completing a master’s degree in law at Moscow University.ชำนาญในภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน  เขาศึกษาปรัชญาและวรรณกรรมที่มหาวิทยาลัย Shanyavsky   เขาจบปริญญาโทด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยมอสโก Returning home in 1917, he taught at various institutes, and began reading widely in psychology and education. และหลังที่จบจากมหาวิทยาลัย Shanyavsky  เขากลับมาบ้านในปี 1917  และสอนที่วิทยาลัยครูและเริ่มเขียนงานที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทางด้านจิตวิทยาและการศึกษา คือ  Educationl Psycholy   ต่อมาเขาทำงานในสถาบันของจิตวิทยา (กลางทศวรรษ 1920 )  
                                     การศึกษาทางด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็กของ ไวก็อตสกี้ (Vygosky)  เสนอไว้ว่า เราควรที่จะ “สืบสาว” การพัฒนานั้น เราต้องรื้อประกอบสร้างมันใหม่ด้วยการหันกลับไปดูแหล่งของพฤติกรรมต่างๆ นี้ ต้องยอมรับว่า แนวคิดเรื่องจิตวิทยา cultural-historical ของเขาไม่เคยมีมาก่อนหน้านี้ เขาเสนอจิตวิทยา   พัฒนาการเขาเชื่อว่าในการพัฒนาเด็กเขาไม่คำนึงถึงอายุของเด็ก แต่การพัฒนาเด็กได้มันต้องเกิดขึ้นจากภายในของเด็ก historically-based นั่นคือกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมจะเข้าใจได้ก็มีเพียงการเข้าใจผ่านประวัติศาสตร์ของพฤติกรรมเท่านั้น เขาใช้คำว่าความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่เป็นพลวัต ซึ่งเป็นจิตวิทยาที่สำคัญ มีเพียงปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่มองกระบวนการเปลี่ยนแปลงเท่านั้นที่จะช่วยอธิบายได้ นับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการประกอบสร้างของระเบียบใหม่ทางความคิดจิตวิทยา   
                                   พฤติกรรมของเด็กมีการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาการเรียนรู้จากการเล่นของเด็ก ซึ่งไวก็อตสกี้ (Vygosky)     เชื่อว่า การเล่น หรือเด็กเล่นของเล่น เล่นเกมเป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาและบทบาทในการพัฒนาของเด็กThrough play the child develops abstract meaning separate from the objects in the world, which is a critical feature in the development of higher mental functions.[ 4 ]ผ่านการเล่น  เด็กได้พัฒนาความหมายของนามธรรมที่แยกต่างหากจากวัตถุในโลกซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในหน้าที่การพัฒนาจิตใจที่สูงขึ้น  โดยไวก็อตสกี้ (Vygosky) ได้เริ่มศึกษาเด็กเป็นระยะดังนี้
ในช่วงวัยทารก(ช่วงปีแรก)
                        เขาได้ศึกษาการพัฒนาอารมณ์ความรู้สึกของทารกกับความสัมพันธ์กับผู้ดูแลเด็ก เพื่อส่งผลต่อการพัฒนา ผลจากการประเมินพบว่า  
                       ประการแรกทารกได้พัฒนาร่วมกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกันในโลกภายนอก ซึ่งกลายเป็นความเข้มแข็งกว่ามากกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตนในการสื่อสารทางอารมณ์ความรู้สึกกับผู้ใหญ่ ในทางตรงกันข้ามทารกคิดว่า ของเล่นเป็นวิธีการของการสื่อสารกับผู้ใหญ่เท่านั้น  ทารกอาจจะหงุดหงิดจากการไม่ได้สัมผัสกิจกรรม” และ”ไม่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมร่วมกับวัตถุ
                        ประการที่สอง  ทารกยอมรับผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยทั้งหมดของความสัมพันธ์ของพวกเขากับโลกภายนอก  อารมณ์ความรู้สึกของพวกเขาและการสื่อสารกับผู้ใหญ่ได้ถูกแทนที่โดยเรียกว่าธุรกิจ – เหมือนการสื่อสาร  นั่นคือ การสื่อสารในบริบทของการร่วมกันทำกิจกรรม – centered  นำไปสู่ผลลัพธ์การเปลี่ยนของทารกผ่านไปที่วัตถุ – centered  กิจกรรมร่วมกัน และนำไปสู่การทำกิจกรรมใหม่ร่วมกัน
                            ไวก็อตสกี้ (Vygosky) เน้นไปที่ต้นเหตุสำคัญของความแตกต่างระหว่างวัตถุ ในช่วงปีแรกและปีที่สอง  ในช่วงปีแรกของชีวิต ทารกจะชาญฉลาดในการสัมผัสตามลักษณะของวัตถุทางกายภาพ ของพวกเขา เช่น บอลเป็นก้อนกลมกลิ้งไปหาหากผลักออกทำให้มีเสียง  หรือถ้าเขย่าทำให้เกิดเสียง และอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้เกิดการค้นพบเช่นนั้น  ทารกไม่จำเป็นต้องมีผู้ใหญ่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ทางกายภาพ ของวัตถุที่มีลักษณะของพื้นผิวที่มองเห็นได้และสามารถเห็นผลได้ในการสำรวจตรวจตราต่างๆที่เป็นอิสระ
                               สรุปก็คือ  ทารกเริ่มที่จะเลียนแบบการกระทำของผู้ใหญ่และเล่นกับวัตถุตามความหมายทางสังคมของพวกเขา เช่นว่า ในระยะแรกเพียงปรากฏในระหว่างการร่วมกิจกรรม ซึ่งผู้ใหญ่ควรแสดงให้เห็นการกระทำที่เหมาะสม และควรกระตุ้นให้ทารกเลียนแบบสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างดี  เป็นผลมาจากการร่วมกิจกรรม  ซึ่งจะเกี่ยวข้องและมีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการในการพัฒนากับทฤษฎีที่สำคัญของ ไวก็อตสกี้ (Vygosky)  ซึ่งเรียกว่าเขต proximal ของการพัฒนา ( zpd )  zpd  เป็นทักษะการรับรู้และแนวคิดต่างๆที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างเต็มที่ แต่เป็น “บนขอบของสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่”  เพียงแค่เด็กได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมของผู้ใหญ่
ในช่วงปีที่สอง – สาม
                             ในช่วงปีที่สองของชีวิต เด็กสามารถสังเกตเห็นวัตถุตามลักษณะทางกายภาพได้บ่อยครั้ง ไวก็อตสกี้ (vygotsky)  ได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมหลัก โดยมีการทำกิจกรรมของเด็ก- centered ในช่วงนี้ กิจกรรมควรจะมีเนื้อหาครอบคลุมสาเหตุของเด็กกับวัตถุตามความหมายทางสังคมของพวกเขา  แต่ไม่ได้ถูกจำกัดสำหรับเรื่องเล่นของเด็ก และของเล่นเด็ก
                               ไวก็อตสกี้ (Vygosky) ให้เหตุผลว่าสำหรับการเล่นของเด็กกับวัตถุเป็นกิจกรรมที่เน้นความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการพัฒนาของเด็กในช่วง  1 – 3 ปี  ดังนั้นเด็กจึงควรมีกิจกรรมการเล่นเพื่อนำไปสู่ช่วงเวลาทั้งหมดของกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาของเด็กซึ่งผลงานที่เห็นได้ชัดจากการศึกษาของเขา คือ เมื่อเด็กต้องการขี่ม้า แต่ไม่สามารถขี่ม้าจริงๆได้เขาจึงหยิบไม้และยืนคร่อม  โดยจิตนาการว่าไม้ที่ขี่เป็นม้า   “การดำเนินการตามกฎนี้เริ่มต้นที่จะพิจารณาจากความคิดไม่ใช่โดยวัตถุ …. มันเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กเพื่อที่จะตัดความคิด (ความหมายของคำ) ออกจากวัตถุ   การเล่นเป็นขั้นตอนการนำไปสู่ทิศทางต่างๆ  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของการแยกความหมายของม้าไม้จากม้าจริงซึ่งเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานทางจิตวิทยาการและการกำหนดความสัมพันธ์ของเด็กกับความเป็นจริงเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง”
 ในช่วงปีที่สี่ – หก
                            ด้านการเล่นอื่นที่  ไวก็อตสกี้ (Vygosky)  อ้างถึงเป็นการพัฒนาของกฎทางสังคม  เช่น  เมื่อเด็กเล่นเกี่ยวกับบ้าน และมีการเล่นบทบาทของสมาชิกในครอบครัวที่แตกต่างกัน Vygotsky cites an example of two sisters playing at being sisters. ไวก็อตสกี้ (Vygosky)   อ้างตัวอย่างของน้องสาวสองคนที่เล่นเป็นน้องสาว The rules of behavior between them that go unnoticed in daily life are consciously acquired through play. กฎของพฤติกรรมระหว่างพวกเขาจากการสังเกต มาจากในชีวิตประจำ วัน มีการแสดงออกผ่านการเล่น หรือการเล่นเกมที่มีกฎควบคุมอยู่ เด็กก็จะเรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเองตามกฎต่างๆ เหล่านั้น
                                   ไวก็อตสกี้ (Vygosky)  เน้นว่า เด็กจะไม่มีอิสระในการเล่น ในระหว่างการเล่นเด็กทุกคนควรที่จะเป็นไปตามกฎ กติกา  เด็กที่มีส่วนร่วมในการเล่นที่ควบคุมอย่างเข้มงวดของพฤติกรรม ของแต่ละคนในเทอมต่างๆของการแสดงบทบาทในการเล่น  แต่การเล่นแต่ละบทบาทบรรจุนัยยะบางอย่างเป็นระเบียบ สังเกตเห็นว่า”หลักนิติธรรมถูกซ่อนอยู่…ตามบทบาท  ดังนั้นในการเรียนผ่านการเล่น  เด็กจะควบคุมพฤติกรรมของพวกเขาและได้เรียนรู้ที่จะระงับ  และจะปฏิบัติตามกฎว่าเป็นความสามารถที่จะพัฒนาพฤติกรรมตนเองของพวกเขา
                                    จะเห็นได้ว่าเขามองถึงการเล่นสามารถส่งเสริมจิตนากรหรือเด็กสามารถใช้จิตนาการผ่านการเล่นได้นอกจากการเล่นส่งเสริมจิตนาการของเด็กแล้ว การเล่นยังพัฒนากฎ ระเบียบทางสังคมให้กับเด็กอีกด้วยเช่นการเล่นเกม นอกจากนี้การเล่นของเด็ก เด็กไม่ได้เล่นเพียงคนเดียวแต่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่างๆ กับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างกัน  ซึ่ง  ไวก็อตสกี้ (Vygosky)  เชื่อว่าชีวิตของคนเรามีกระบวนการในการพัฒนา โดยการพัฒนาขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเรียนรู้ทางสังคมที่จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการคิดจริงๆ  ปรากฎการณ์นี้เป็นเขตที่เรียกว่า  การพัฒนาของ  proximal   ดังนั้นการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจึงมีบทบาทบทบาทเบื้องต้นในการพัฒนาด้านความคิดของกระบวนการ  ไวก็อตสกี้ (Vygosky)   มุ่งไปที่การเชื่อมโยงระหว่างผู้คนและการแปรผันสิ่งเหล่านี้ในบริบทที่พวกเขามีการกระทำและมีปฏิสัมพันธ์ในประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม ก็มีส่วนในการใช้ภาษาในการสื่อสาร ในการสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ซึ่งการใช้ภาษาในการสื่อสารหรือการเล่นก็จะมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสังคม หรือวัฒนธรรมของเด็ก
ความสำคัญของการเล่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา
                                     ไวก็อตสกี้ (vygotsky) ทำให้เชื่อเกี่ยวกับการเล่น และขยายตัวออกไปจากการศึกษาในช่วงต้นๆ ศิลปะทางจิตวิทยาที่ดีของเขา ในทฤษฎีที่ทำหน้าที่ของการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น ในการเล่นไวก็อตสกี้ (vygotsky)   ชี้ให้เห็นในช่วงหนึ่งต้นๆ ในบริบทที่เด็กได้เรียนรู้ที่จะใช้วัตถุและการกระทำของพวกเขาทำหน้าที่ในเชิงสัญลักษณ์ ภาพ ที่มีชื่อเสียงของวัฒนธรรมนับตั้งแต่เครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆได้สร้างให้พื้นฐานของการพัฒนาของจิตใจสูงขึ้น  การพิจารณาการเล่นโดย ไวก็อตสกี้ (vygotsky)    เป็นผู้นำของกิจกรรมสมัยใหม่ ในโรงเรียนอนุบาล ในการทำกิจกรรม  การเตรียมการสำหรับผู้ใหญ่   กิจกรรม   แต่อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่เป็นสัญลักษณ์ทั้งหมด
                                  เมื่ออธิบายถึงการใช้สัญลักษณ์ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ   ไวก็อตสกี้ (vygotsky)  จำกัดขอบเขตของการเล่น การละคร  ทำให้เชื่อว่าการเล่นเป็นแบบฉบับของ  preschoolers  และการจำกัดอายุของเด็กในโรงเรียนประถมศึกษา   ดังนั้น ไวก็อตสกี้ (vygotsky)  นิยามการเล่นไม่รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเคลื่อนไหวกิจกรรม สาเหตุของวัตถุและการสำรวจตรวจตราต่างๆที่(และยังคงเป็น) อ้างถึงในฐานะที่เล่นโดยนักการศึกษาตลอดจน noneducators   ที่เล่นจริง  ซึ่งการเล่นตามที่ ไวก็อตสกี้ (vygotsky)  นิยามมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
                                ประการที่หนึ่ง  เด็กสร้างจินตนาการจากสถานการณ์ ในบทบาทและการกระทำออกมาและนั่นเป็นไปตามหลักเกณฑ์กำหนดเฉพาะ โดยบทบาทลักษณะของแต่ละคนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อการก่อตัวในใจของเด็กมีหน้าที่ในการพัฒนาจิตใจให้สูงขึ้น การเล่นเกมในจินตนาการ สถานการณ์เด็กจะต้องดำเนินการสอง ประเภท ของการปฏิบัติการ – ปัจจัยภายนอก และ ภายในประเทศ  ในการเล่น การกระทำภายใน ประเทศเหล่านี้   การดำเนินงานในความหมายนี้ยังขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานในต่างประเทศในวัตถุต่างๆ  แต่อย่างไรก็ตามการปรากฏตัวขึ้นมามาก ภายในสัญญาณการกระทำในช่วงต้นของเด็กการเปลี่ยนผ่านจากแบบในช่วงต้นของกระบวนการคิด  sensorimotor และ ความคิดเกี่ยวกับภาพอื่นๆ ในความก้าวหน้ามากกว่าจะเป็นสัญลักษณ์ของความคิด ด้วยเหตุนี้  ทำให้เชื่อว่าการเล่น เพื่อเตรียมการสำหรับสองส่วนนี้มีหน้าที่ทำให้ทางจิตใจสูงขึ้น  รวมถึงความคิดและจินตนาการ
                                 ประการที่สอง การเล่นมีหน้าที่พัฒนาจิตใจให้สูงขึ้นเป็นการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมโดยเจตนา มันจะกลายเป็นไปได้เพราะความเชื่อมความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่างบทบาทการเล่นของเด็กและระเบียบที่จำเป็นที่จะตามมาเมื่อเล่นต่อบทบาทต่างๆเหล่านั้น  สำหรับ preschoolers   เล่นกลายเป็นครั้งแรกในกิจกรรมเด็กที่ขับเคลื่อนโดยไม่จำเป็นต้องให้เกิดความปิติยินดี  ทันทีที่มีมากกว่ายุคนี้  โดยความต้องการที่จะระงับแรงกระตุ้นของเด็กโดยทันที
                                 ประการที่สาม  ในการเล่นเป็นสัญญาณแรกของอารมณ์ความรู้สึกโดยทั่วไปปรากฏว่ามีอารมณ์ความรู้สึกที่ว่าตอนนี้มีความหมายกว้างที่เกี่ยวเนื่องกับประเภทของผู้คนและสถานการณ์เฉพาะมากกว่าความเป็นเหตุการณ์ ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อมีเสียงร้องของเด็กเมื่อเขาเล่น  เขาแสดงถึงความอดทน เพราะเขารู้ว่าเด็กทุกคนทำเมื่อพวกเขาจะถูกยิง  ในสถานการณ์อื่น เช่น  เมื่อมีเด็กมีลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับบทบาทของหมอหรือเป็นนักดับเพลิง  นั้นจะบรรลุถึงความปรารถนาเป็นสากล ที่จะกระทำการเหมือนผู้ใหญ่
วิธีการที่จะพัฒนาเด็ก : ความสำเร็จและสิ่งที่ยังขาดตกบกพร่อง
                                 สานุศิษย์ของ vygotsky  ในรัสเซีย  มีทางทฤษฎีของไวก็อตสกี้ (vygotsky)  เข้าไปในความคิดเป็นตรรกะและ ภายใน สอดคล้องกับทฤษฎีอัตรธานกระบวนการคิดที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแง่มุมทางสังคม และการพัฒนาของเด็ก ในทฤษฎีนี้ กระบวนการไกล่เกลี่ยในการเรียนของเด็กของกิจกรรมเฉพาะ   ให้พิจารณาว่าสาเหตุหลักการของการพัฒนาของตน   มันจะอยู่ในบริบทของกิจกรรมที่นำไปสู่การพัฒนาเด็ก และมีแรงกระตุ้นใหม่ที่เหมาะกับความสามารถของพวกเขา
                                 ในสังคมอุตสาหกรรม  เด็กๆอาจไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมบางอย่าง จากมุมมองของรัสเซีย   neo – vygotskians  เป็นผู้นำสำหรับในช่วงเวลาของการพัฒนา เป็นที่น่าสนใจแต่อย่างไรก็ตาม ถ้าในกรณีที่เป็นการพัฒนาของเด็กได้รับพัฒนาต่อไปก็จะดี   ยกตัวอย่าง   เช่น  ในโรงเรียนอนุบาลในอเมริกัน ให้ดูทีวีและเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์มากกว่าในการกระทำ sociodramatic เล่น   จากมุมมองของรัสเซีย neo – vygotskians นี้จะส่งผลต่อความสามารถที่และทำให้เกิดปัญหากับเด็กๆเหล่านี้  ซึ่งตามหลักการในห้องเรียนของอเมริกันครูโรงเรียนประถมศึกษาควรจะจัดก็คือ   ให้เด็กต้องได้ร้องเพลง  เต้นรำ  หรือกระทำการอย่างอิสระในการสอน
การศึกษาเกี่ยวกับการเรียนในโรงเรียนอนุบาล ทางวัฒนธรรม – ขนบจารีตทางประวัติศาสตร์
                                 หลายเรื่องในปีหลังจาก ไวก็อตสกี้ (vygotsky)  การตายของเพื่อนร่วมงานการศึกษา และเป็น นักการศึกษาการพัฒนาเด็กสำคัญๆ  อย่างต่อเนื่อง  และมีการตกแต่งเค้าโครงชุดก่อนหน้านี้ ในหมวดนี้ ส่งผลให้การศึกษาทำอย่างพิถีพิถันของ oretical  แนวความคิดและหลักการที่แนะนำโดย ไวก็อตสกี้ (vygotsky) ในการพัฒนาที่ดี แอพพลิเคชันในทางปฏิบัติของหลักการต่างๆเหล่านี้  ในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการของการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กวัยเรียนโรงเรียนอนุบาล   ทางวัฒนธรรมที่สำคัญและทฤษฎีทางประวัติศาสตร์  ได้ถูกทำขึ้นในพื้นที่ของการเล่น ความคิด และการพัฒนาทางอารมณ์ การพัฒนาความรู้สึก
การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กจากการเรียนในโรงเรียนอนุบาล ในมุมมองของ  vygotskian
                             vygotsky  ได้เขียนเกี่ยวกับการพัฒนาของการปกครองตนเองในโรงเรียนอนุบาล  เกี่ยวกับข้อบังคับในสองบริบท คือ
  1. ในความสัมพันธ์กับการพัฒนาสุนทรพจน์ของภาคเอกชนและในความสัมพันธ์กับการ
พัฒนาทำให้ เชื่อเกี่ยวกับการเล่น   การกล่าวของเอกชนได้เปิดโอกาสให้เด็กมีการใช้เครื่องมือที่จะใช้บังคับพฤติกรรมของเด็กสามารถใช้ตอนนี้  โดยมีความมุ่งประสงค์เพื่อเด็ก สามารถควบคุมตัวเองได้ 
  1. การเล่นทำให้เชื่อว่าทำให้มีลักษณะเฉพาะบริบทที่ให้การสนับสนุนการใช้กฎระเบียบ
ของตัวเองโดยผ่านระบบอันหนึ่งของบทบาทและสอดคล้องกับกฎข้อบังคับต่างๆ  เล่นอย่างต่อเนื่องจากโรงเรียนอนุบาล โดยเต็มใจที่จะยอมสละความปรารถนาของพวกเขาในทันทีโดยให้การสนับสนุนตามหลักเกณฑ์โดยปล่อยให้มีมากขึ้น ทำให้พวกเขามีความปรารถนาในรูปแบบสัญญาลักษณ์                            
                              สรุปได้ว่า การเล่นมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การพัฒนาแก่เด็กในด้านต่างๆ เช่น ด้านความคิด จิตนาการ ภาษา  ด้านการเรียนรู้กฎระเบียบทางสังคม วัฒนธรรม  ซึ่งการเล่นจะดึงเอาความรู้สึกนึกคิดของเด็กออกมา และที่สำคัญการเล่นมีหน้าที่พัฒนาจิตใจของเด็กให้สูงขึ้น โดยการเล่นอาจจะแผงด้านคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก รวมถึงพัฒนาการทางด้านสังคมด้วย เพราะการเล่นเด็กจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและกับวัตถุ  ไวก็อตสกี้ (Vygosky) จะให้ความสำคัญโดยเริ่มตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต เป็นต้นไป โดยเด็กจะมีกระบวนการเล่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ ตามสภาพแวดล้อม และบุคคลที่เกี่ยวข้อทั้งที่เป็นการเล่นที่เป็นส่วนตัว การเล่นในเกม ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามที่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งในระบบการศึกษา  และจากที่กล่าวมาไม่ว่า เด็กจะมีรูปแบบการเล่นแบบไหน เล่นที่บ้าน หรือที่โรงเรียน ก็จะเกี่ยวข้องและมีกระบวนการเรียนรู้ หรือกระบวนการในการพัฒนากับทฤษฎีที่สำคัญของ ไวก็อตสกี้ (Vygosky)  ซึ่งเรียกว่าเขต proximal ของการพัฒนา ( zpd )  zpd  เป็นทักษะการรับรู้และแนวคิดต่างๆที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาอย่างเต็มที่ แต่เป็น “บนขอบของสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่”  เพียงแค่เด็กได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมของผู้ใหญ่
                                 ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครูหรือบุคคลอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็ก ต้องหันกลับมามอง “การเล่น” และให้ความสำคัญกับการเล่นอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อที่การเล่นจะได้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาเด็กทุกช่วงอายุต่อไป
เอกสารอ้างอิง
การพัฒนาความเข้าใจในการเรียนรู้ของเด็กผ่านการเล่น.(2553).ออนไลน์จาก. 
                 http://www.hu.eureka.org.
ศิวรักษ์  ศิวารมย์.(ม.ป.ป). บทความ ฤา ไวก็อตสกี้มองจิตวิทยาเป็นเรื่องสัญญะและวัฒนธรรม.คณะ
                 ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทฤษฎีเชิงสังคมวัฒนธรรมของไวก็อตสกี้.(2553) ออนไลน์จาก. http://www.hu.swu.ac.th.
  Alex Kozulin,Boris Gindis,Vladimir S. Ageyev and Suzanne M. Miller. 
                  (2003).Vygotsky’s  Educational  Theory in Cultural Context. 
                   Cambridge University Press. New York.
ออนไลน์จาก. http://www.keytolearning.com.
ออนไลน์จาก. http://www.theory.ht.


วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

คาบเรียนที่ 6

ชื่อวิชา  (ภาษาไทย)             การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ชื่อวิชา  (ภาษาอังกฤ)        Child Care for Early Childhood 
รหัสวิชา    EAED 110         3จำนวนหน่วยกิต  3(3-0-6)    
ผู้สอน        ว่าที่ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด

  -สัปดาห์นี้เป็นการนำเสนองานกลุ่ม ในหัวข้อเรื่อง นักวิชาการทางด้านพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ดิฉันได้หัวข้อ นักวิชาการอิริสัน มีทั้งหมด8 ขั้น
ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจ กับ ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs. Mistrust) 
พัฒนาการขั้นแรกจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงขวบปีแรก ในช่วงนี้ทารกจะมีความสุขความพึงพอใจบริเวณปาก และกิจกรรมเกี่ยวกับการกลืนกิน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปีแรกของชีวิต ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะได้รับการตอบสนองที่เพียบพร้อม อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม รับอาหารผ่านทางสายรก อยู่ในภาวะสงบเงียบ ทำให้ทารกมีความพึงพอใจรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ต่อมาเมื่อทารกคลอดจากครรภ์มารดาจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ การกลืนกินทางปาก การขับถ่ายทางทวารหนัก การได้ยินเสียง และอื่นๆ

ในขั้นนี้หากมารดาให้ความรักและการดูแลแก่ทารกอย่างสม่ำเสมอ ตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานทางกายและทางจิตใจอย่างต่อเนื่อง (เช่น เมื่อทารกหิวก็ได้กิน ได้รับการสัมผัสลูบคลำด้วยความรัก ทนุถนอม ได้นอนหลับอย่างสงบพอเพียง เมื่อขับถ่ายก็ได้รับการดูแลความสะอาด) จะทำให้ทารกพัฒนาความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจขั้นพื้นฐาน (Basic Trust) ต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม ความสำเร็จของพัฒนาการในขั้นแรกสังเกตุได้จากการที่ทารกไม่มีความวิตกกังวลมากจนเกินไป หรือไม่มีอารมณ์รุนแรง เช่น การแสดง พฤติกรรมร้องไห้โยเยโดยไม่สมเหตุสมผล หรือแสดงความโมโหหงุดหงิด เพื่อเรียกร้องความสนใจ เมื่อมารดาหรือผู้ดูแลคลาดสายตาไปการที่ทารกสามารถอยู่ตามลำพังในระยะเวลาสั้นๆ เมื่อเวลา ที่มารดาหรือผู้ดูแลผละจากทารกไป เพื่อทำธุระอื่นๆ ลักษณะดังกล่าวแสดงว่า ทารกเริ่มมีความรู้สึกมั่นคงและไว้วางใจ มีความมั่นใจว่ามารดาหรือผู้ดูแลจะกลับมาดูแลเช่นเดิม ถือเป็นจุดพื้นฐานเริ่มต้นของการพัฒนาอัตลักษณ์ (Ego Identity) ของบุคคลซึ่งจะเกิดขึ้นชัดเจนในช่วงวัยรุ่น

ทารกน้อยที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการที่ดี จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อบุคคลรอบข้างและสภาพแวดล้อม มีความเชื่อมั่นและความหวังในการเริ่มต้นพัฒนาการแห่งชีวิตในอนาคต เมื่อชีวิตพวกเขาจะต้องเผชิญกับปัญหา หรือความกดดัน เขาก็จะมีความเข้มแข็งในการฝ่าฟันปัญหา ซึ่งเป็นผลจากการได้รับประสบการณ์ทางบวกในช่วงต้นของชีวิตนั่นเอง

สำหรับทารกที่มีความรู้สึกไม่ไว้วางใจเกิดขึ้นถือเป็นความล้มเหลวของพัฒนาการขั้นแรกนี้ในตัวบุคคลคนนั้น ความไม่ไว้วางใจอาจมาจากมารดาหรือผู้ดูแลมีปฏิกิริยาตอบสนองไม่เหมาะสมต่อความต้องการของทารก การห่างเหิน หรือปฏิเสธบุตร รวมทั้งมารดาที่มีลักษณะพึ่งพาไม่ได้ หรือมารดาที่เลี้ยงดูทารกด้วยความหงุดหงิด โกรธ ทารกจะแสดงพฤติกรรมเรียกร้องมากเกินควร อย่างไม่มีเหตุผล หรืออาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นๆ และพัฒนาความรู้สึกไม่ไว้วางใจต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม ไม่เข้าใจสิ่งแวดล้อม ไม่ไว้วางใจผู้อื่นในพัฒนาการขั้นต่อๆไป

พัฒนาการทางด้านร่างกาย
- มีการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างรวดเร็ว
- มีการเคลื่อนไหวระยะแรก เป็นไปโดยปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexive - ปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้าแบบอัตโนมัติ เช่น การกระพริบตา การกระตุก น้ำลายไหล เป็นต้น) แล้วค่อย ๆ หายไป ต่อมาจะพัฒนาเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งการเคลื่อนไหวที่มีจุดมุ่งหมายมากขึ้น ทารกจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้มากขึ้น จากการที่ทารกสามารถชันคอ คว่ำตัว ลุกขึ้นนั่ง คลานเข่า ยึดเกาะดึงตัวเพื่อยืนขึ้นเอง การเกาะเดินจนในที่สุดสามารถลุกขึ้นยืนได้เอง

พัฒนาการทางด้านภาษา
- ทารกแรกเกิด แสดงความต้องการให้ผู้เลี้ยงดูเข้าใจ ด้วยการร้องไห้
- 2 เดือน ฟังเสียงคุย หันหาเสียง เปล่งเสียงอ้อแอ้
- 4 เดือน เปล่งเสียงได้ยาวขึ้น ส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบ เมื่อรู้สึกพอใจจะส่งเสียงเอิ๊กอ๊ากในลำคอ
- 6 เดือน หันหาเสียงเรียก ส่งเสียงหลายเสียง
- 9 เดือน ฟังรู้ภาษา เข้าใจสีหน้า ท่าทาง เลียนเสียงพยัญชนะแต่ไม่มีความหมาย
- 12 เดือน เรียกพ่อแม่/ พูดคำโดดที่มีความหมาย 1 คำ ทำท่าตามคำบอกที่มีท่าทางประกอบได้

พัฒนาการทางด้านความคิด 
สำหรับพัฒนาการทางด้านความคิดนั้นจะขอกล่าวถึงแนวคิดของเพียเจท์ (Piaget) ซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางความคิดของมนุษย์ โดยพัฒนาการทางความคิดในระยะทารกนั้นเป็นระยะของ Sensori-motor Operation (แรกเกิด – 2 ปี) และแบ่งลำดับขั้นพัฒนาการเป็น 6 ระยะ เมื่อเปรียบเทียบพัฒนาการในช่วงแรกตามทฤษฎีของแอริคสัน ซึ่งอยู่ในช่วงอายุขวบปีแรก จะเทียบกับแนวคิดของเพียเจท์ได้ 4 ระยะคือ
  1. ระยะ 0 – 2 เดือน (Reflexive) พฤติกรรมต่างๆ เป็นปฏิกิริยาสะท้อน (ปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้าแบบอัตโนมัติ เช่น การกระพริบตา การกระตุก น้ำลายไหล เป็นต้น)
  2. ระยะ 1 – 4 เดือน (Primary circular reaction) ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นสิ่งกระตุ้นการเคลื่อนไหวของเด็ก เด็กจะทำซ้ำ ๆ แต่ยังไม่มีจุดมุ่งหมาย สนใจการเคลื่อนไหว ไม่ใช่สนใจผลของการเคลื่อนไหว
  3. ระยะ 4 – 9 เดือน (Secondary circular reaction) เริ่มมีความตั้งใจทำพฤติกรรมการเคลื่อนไหว และสนใจผลของพฤติกรรมนั้น ๆ
  4. ระยะ 9 – 12 เดือน (Coordination of secondary reaction) เริ่มแก้ปัญหาอย่างง่ายๆได้ ใช้พฤติกรรมในอดีตที่ผ่านมาช่วยแก้ปัญหา สามารถแยกสิ่งที่ต้องการออกจากสิ่งที่ไม่ต้องการ สามารถเลียนแบบการเคลื่อนไหว
ในขั้นนี้ทารกจะมีการเจริญเติบโตทางร่างกายอย่างรวดเร็ว ในขณะที่พัฒนาการทางความคิดเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และมักเป็นปฎิกิริยาสะท้อน

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเอง กับ ความละอายและสงสัย (Autonomy vs. Shame and Doubt) 
ในพัฒนาการขั้นที่ 2 เกิดขึ้นระหว่างขวบปีที่ 2 – 3 ของชีวิต พัฒนาการในขั้นนี้เด็กจะมีพัฒนาการทางร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมากขึ้น และเริ่มที่จะเรียนรู้การควบคุมส่วนต่างๆของร่างกาย เคลื่อนไหวร่างกายอย่างเป็นอิสระมากขึ้น สามารถที่จะเรียนรู้อย่างรวดเร็ว และเริ่มสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เด็กในวัยนี้จะเริ่มฝึกหัดการขับถ่าย การควบคุมกล้ามเนื้อหูรูด

ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง (Sense of Autonomy) และการควบคุมตนเอง (Self Control) จะเกิดขึ้นได้ถ้าผู้ปกครองให้การอบรมเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม มีความมั่นคงอดทน ให้โอกาสเด็กได้ทำสิ่งต่างๆตามความปรารถนาของตนเองโดยอยู่ในการดูแลของผู้ปกครอง (เช่น การเคลื่อนไหว การเดิน การปีนป่ายการหยิบจับสิ่งของอย่างเป็นอิสระ โดยที่ผู้ปกครองไม่แสดงท่าทีตื่นตระหนก หรือกังวลมากเกินไป) จะทำให้เด็กรู้สึกภาคภูมิใจในความสำเร็จของตนเอง มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น ผลดีอีกประการคือ เด็กจะพัฒนาความรู้สึกมุ่งมั่น (Will) ซึ่งหมายถึง ความมุ่งมั่นตั้งใจแน่วแน่ในการเลือก และในการยับยั้งตนเอง เด็กจะกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นและกล้าที่จะตัดสินมากขึ้น รวมทั้งมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ในทางตรงข้ามหากผู้ปกครองปล่อยปละละเลย ดุว่า หรือเข้มงวดกับเด็กมากเกินไป เด็กจะรู้สึกละอาย สงสัยในความสามารถของตนเอง ไม่มั่นใจในการแสดงความคิดเห็น ไม่มั่นใจว่าจะควบคุมชีวิตตนเองได้ ผลกระทบหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นคือทำให้เด็กมีบุคลิกภาพไม่เหมาะสม ขาดความเชื่อมั่น วิตกกังวล หวาดระแวงสงสัย หรือมีพฤติกรรมย้ำทำ นอกจากนี้ บุคคลที่ได้รับการพัฒนาความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง และการควบคุมชีวิตตนเองอย่างเหมาะสม เมื่อโตขึ้นเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่จะสนับสนุน และเชื่อมั่นสถาบันทางกฎหมายของสังคม มีความเคารพและอยู่ภายใต้กฎหมายของสังคม

พัฒนาการทางด้านร่างกายและภาษา 
- เด็กเป็นอิสระทางกาย (Physical Independence) มากขึ้น สามารถเดินวิ่งได้เอง สำรวจสิ่งแวดล้อมได้
- เด็กเริ่มพูดเป็นคำ ๆ ได้มากขึ้น เข้าใจคำสั่งและภาษาท่าทางมากขึ้น เมื่ออายุ 2 ปี พูด 2 – 3 คำต่อกันได้อย่างมีความหมาย

พัฒนาการทางด้านความคิด 
พัฒนาการทางความคิด ระยะSensori-motor ของ Piaget ระยะ 12 – 18 เดือน (Tertiary Circular Reaction) เริ่มมีพฤติกรรมลองผิดลองถูก (Trail & Error) สนใจผลที่เกิดขึ้น เป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความเข้าใจวัตถุภายนอก รับรู้การคงอยู่ของวัตถุแม้เมื่อวัตถุนั้นถูกปิดบัง หรือซ่อนเล้นลับตาไป หรือถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่น (Object Permanence) ระยะ 18 – 24 เดือน เริ่มมีความคิด จินตนาการ มีความสามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ๆ แต่ยังเป็นลักษณะลองผิดลองถูกอยู่ (Invention of new means through mental combination)

ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative vs. Guilt) 
พัฒนาการในขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 3 – 5 ปี เด็กวัยนี้ร่างกายมีความสามารถและช่วยตัวเองได้มากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัด การพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ทำได้โดยให้เด็กได้ร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ท้าทายความสามารถของเขา รวมทั้งสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนผลักดัน และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้

ระยะนี้เป็นระยะที่เด็กเริ่มเรียนรู้บทบาททางเพศ มาตรฐานทางศีลธรรมและการควบคุมอารมณ์ ครอบครัวจะเป็นแหล่งชี้แนะถึงสิ่งต่างๆ ในสังคมให้แก่เด็ก เด็กเริ่มสร้างบุคลิกภาพและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจากการได้มีกิจกรรมและประสบการณ์ร่วมกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว การอบรมสั่งสอนโดยพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ในครอบครัวจะช่วยให้เด็กได้ซึมซาบเข้าไป เป็นการรู้สำนึกผิดชอบชั่วดีในความคิด และแสดงออกในพฤติกรรมของเด็ก การเรียนรู้นี้เด็กจะได้รับจากตัวแบบ (Role Model) ในครอบครัว โดยมีตัวแบบเป็นตัวอย่าง และให้ข้อมูลแก่เด็ก เพื่อเรียนรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ดังนั้นความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจึงสามารถสร้างขึ้นโดยการเรียนรู้จากบุคคลในครอบครัว และรวมถึงแนวความคิดค่านิยมของสังคม ในระยะนี้ครอบครัวมีบทบาทอย่างยิ่งในการปลูกฝังความรู้สึกผิดชอบชั่วดีให้แก่เด็ก การสร้างความสัมพันธ์ในระยะนี้จะเริ่มด้วยความสัมพันธ์ระหว่างแม่-เด็ก ต่อมาพ่อเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย และเมื่อสังคมของเด็กกว้างขวางขึ้นเด็กจะเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง เด็กที่มีประสบการณ์มากจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มาก เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาผ่านขั้นความคิดริเริ่มไปได้จะเกิดความรู้สึกผิด และไม่กล้าที่จะเป็นผู้ริเริ่ม เนื่องจากเกิดความกลัวว่าจะทำผิดพลาดอีก

พัฒนาการของเด็กเป็นความรับผิดชอบร่วมกันทั้งเด็ก พ่อแม่ และชุมชน การได้ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน หรือการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ในสังคมจะเป็นการช่วยถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ค่านิยมของสังคมให้แก่เด็กได้ทีละน้อย โดยมีผู้ใหญ่ช่วยกันประคับประคองให้เด็กพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ได้ เด็กวัยนี้ควรได้รับโอกาสทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสามารถอย่างอิสระ เช่น การเล่น การคิด การประดิษฐ์ การจินตนาการต่างๆ และควรได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ซึมซับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และหลักศีลธรรมจรรยา หากเด็กวัยนี้ได้รับการจำกัดในการทำกิจกรรมหรือถูกตำหนิ เมื่อคิดและทดลองทำสิ่งต่างๆ จะทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดคัดค้านหรือความรู้สึกผิดเกิดขึ้นเนื่องจากเขาไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จดั่งใจและถูกลิดรอนหรือขัดขวางความสามารถของตนเอง ทำให้ความรู้สึกผิดเกิดสะสมในตัวเด็กและมีผลให้เด็กขาดความคิดสร้างสรรค์

พัฒนาการทางด้านร่างกายและภาษา 
เด็กวัยนี้สามารถเดิน วิ่ง กระโดดโลดเต้นได้ เด็กจะมีทัศนคติไปในทางที่ดี ถ้าได้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมีอิสระ ได้ใช้ความคิดและพลังงานของเขา และการได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม เด็กต้องการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ในระยะแรกๆ ของขั้นนี้เด็กจะมีความกระตือรือร้นและเริ่มมีความก้าวร้าวเกิดขึ้น เพื่อจะเอาชนะ ลักษณะพฤติกรรมของเด็กวัยนี้จะแตกต่างกันไปตามเพศ และในที่สุดจะพัฒนาเป็นบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเป็นชายและหญิงอย่างเห็นได้ชัด รูปแบบพฤติกรรมของเด็กชาย เด็กชายจะชอบกระโดดโลดเต้น ต้องการมีความรู้ใหม่ๆ และชอบยุ่งเรื่องของคนอื่น ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การไม่สามารถอยู่นิ่งๆ อาการกระวนกระวาย การจู่โจมถึงตัวบุคคล ในขณะที่เด็กหญิง รูปแบบที่แสดงออกมาจะเริ่มต้นคล้ายกับหญิงสาวทั่วไป เช่น มีเสน่ห์ น่ารัก มีทีท่าขวยเขิน เย้ายวน จนถึงขั้นที่แสดงออกถึงความสงบเสงี่ยมซึ่งเป็นลักษณะของสาวๆ ทั้งหมดนี้เป็นการเริ่มต้นที่แสดงออกถึงเพศแม่ เด็กหญิงเริ่มมีบทบาทของความเป็นแม่ต่อไปในรูปของท่วงทีการพูดคุย การแสดงออกต่าง ๆ ในสังคมจะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมต่างๆ รวมถึงอุปนิสัยส่วนลึกที่จะยอมรับใครเข้ามาร่วมเกี่ยวข้องด้วย พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ถือว่าเป็นธรรมชาติของเด็ก สภาพแวดล้อมของครอบครัวมีบทบาทสำคัญต่อการแสดงออกของเด็กเป็นอย่างมาก เมื่อเด็กผ่านช่วงนี้ไป ความสนใจเรื่องเพศจะเปลี่ยนจากความสนใจในบุคคลอื่นเป็นการค้นหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวเอง

เด็กมีความสามารถทางภาษาและสามารถใช้ได้ดีขึ้นกว่าเดิม ชอบพูดและตั้งคำถามถึงสิ่งต่างๆ รอบตัว และมีจินตนาการทางความคิดต่างๆ ในขณะกำลังทำกิจกรรมนั้นๆ เด็กในช่วงนี้กำลังเรียนรู้ในสิ่งแปลกใหม่ ผู้ใหญ่ควรปล่อยให้เด็กได้พูดถาม และทำกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระภายในขอบเขตความสามารถ และจินตนาการของเขา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดถึงการใช้ภาษาจะช่วยให้เด็กเกิดความคิดในการวางแผนและการริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เขาต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป เด็กก็จะมีความคิดริเริ่ม แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าผู้ใหญ่คอยเข้มงวด ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ซักถาม หรือตำหนิดุว่าพฤติกรรมที่เขาแสดงออกอยู่ตลอดเวลา เขาก็จะรู้สึกผิด และไม่กล้าแสดงออกเมื่อคิดจะทำสิ่งใด

ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรกับความรู้สึกต่ำต้อย (Industry vs. Inferiority) 
ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 6 – 12 ปี ช่วงวัยเด็กตอนปลายเป็นระยะที่เด็กมีความเจริญเติบโตและมีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากขึ้นยิ่งกว่าในวัยเด็กตอนต้นและวัยเด็กตอนกลาง การเสาะแสวงหาสิ่งต่างๆ ทำให้เด็กมีประสบการณ์กับสิ่งใหม่ ๆ รอบตัวเขามากขึ้น เมื่อเขาคิดว่าสิ่งใดที่เขาต้องการเขาจะต้องแสวงหาให้ได้ตามความปรารถนา เนื่องจากในวัยที่ผ่านมาเขาไม่สามารถทำกิจกรรมหลายอย่างได้ เพราะมีผู้ใหญ่คอยบังคับและควบคุม เด็กในวัยนี้ต้องการแสดงความคิดเห็นและแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อแสดงความเป็นผู้ใหญ่ จุดสำคัญของพัฒนาการระยะนี้คือการได้แสดงออกว่าเขามีความคิด และมีความสามารถเหมือนผู้ใหญ่คนอื่นๆเช่นกัน ในช่วงอายุนี้บุคคลรอบข้างควรช่วยชี้แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตเพราะเป็นระยะที่พวกเขาเริ่มไตร่ตรองถึงอนาคต การที่ได้พิสูจน์ว่ามีความสามารถกระทำสิ่งต่างๆ ในขอบเขตของเขาได้อย่างเหมาะสมทำให้เด็กในวัยนี้มีความเชื่อมั่นว่าเขาจะประสบความสำเร็จในอนาคต

พัฒนาการทางร่างกาย การเจริญเติบโตด้านร่างกายของเด็กวัยนี้มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้า ๆ สม่ำเสมอ มีการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและระบบประสาทซึ่งทำงานประสานกันได้ดีขึ้น การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของอวัยวะภายในเกือบทุกระบบ การเปลี่ยนแปลงด้านน้ำหนัก การเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน และการขยายออกของร่างกายซึ่งเปลี่ยนไปในด้านส่วนสูงมากกว่าส่วนกว้าง โดยความสูงจะเพิ่มขึ้น 2 – 3 นิ้วต่อปี สัดส่วนร่างกายใกล้เคียงผู้ใหญ่มากขึ้น เด็กผู้หญิงจะมีการเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกายและวุฒิภาวะเร็วกว่าเด็กผู้ชายประมาณ 1 – 2 ปี จากลักษณะการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายดังกล่าว ทำให้เด็กวัยนี้เริ่มให้ความสนใจกับรูปร่างหน้าตา มีความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องราวทางกายของเพศตรงข้าม อย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตที่เกิดขึ้นทุกด้านของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ลักษณะทางพันธุกรรม การเลี้ยงดูเอาใจใส่จากครอบครัว และตัวเด็กเอง เช่น รูปแบบการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบูรณ์แข็งแรง

พัฒนาการทางอารมณ์ พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยนี้คือ การมีความคิดละเอียดอ่อนมากขึ้น สามารถเข้าใจอารมณ์ของตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น ควบคุมอารมณ์ของตนได้ เรียนรู้ที่จะแสดงอารมณ์ได้เหมาะสมในรูปแบบที่สังคมยอมรับได้ เด็กวัยนี้สามารถควบคุมและระงับความโกรธได้ดีขึ้น ไม่มีลักษณะของการโกรธง่ายและหายเร็ว พัฒนาการการแสดงออกจะเปลี่ยนไป จากเดิมที่แสดงออกด้วยการร้องไห้ดิ้นกับพื้นเสียงดัง ทิ้งตัวลงนอนเมื่ออยากได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ จะเปลี่ยนเป็นการคิดแก้แค้นในใจแต่ไม่ทำจริงดังที่คิด หรือการหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ที่ไม่พึงพอใจในทันที ไม่มีพฤติกรรมแบบต่อสู้โดยใช้กำลัง ด้านความรักเด็กวัยนี้แสดงออกด้วยการมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น ร่าเริงแจ่มใส อารมณ์ดี จะระมัดระวังไม่ทำให้ผู้อื่นเสียใจหรือกระทบกระเทือนใจ โดยเฉพาะขณะอยู่ในกลุ่มเพื่อน หรือในสังคม เขาต้องการความรัก ความอบอุ่นมั่นคงในครอบครัวและหมู่คณะ นอกจากนี้เด็กจะเลิกกลัวสิ่งที่ไม่มีตัวตน พิสูจน์ไม่ได้ อารมณ์กลัวของเด็กวัยนี้เกิดจากประสบการณ์ และการเรียนรู้ที่ได้รับมา สิ่งที่เด็กวัยนี้กลัวมากที่สุดคือ กลัวการไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม กลัวไม่มีเพื่อน ไม่ชอบการแข่งขัน ไม่ต้องการเด่นหรือด้อยกว่ากลุ่ม ชอบการยกย่องแต่ไม่ชอบการเปรียบ- เทียบ นอกจากนี้เด็กยังกลัวอันตรายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตนและบุคคลที่รัก การตอบสนองความกลัวจะเป็นลักษณะการต่อสู้ การถอยหนี และการทำตัวให้เข้ากับสิ่งนั้นๆ ความกลัวของเด็กจะเริ่มลดลงเรื่อยๆ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เด็กจะเปลี่ยนจากความกลัวเป็นความกังวลเรื่องรูปร่างของตนเองแทน คือ กังวลจากความต้องการให้ตนมีรูปร่างที่แข็งแรงในเด็กชาย หรือมีรูปร่างหน้าตาสวยงามในเด็กหญิง

อย่างไรก็ตาม เด็กวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเร็ว บางครั้งทำตัวเป็นผู้ใหญ่ บางครั้งทำตัวเป็นเด็ก ความขัดแย้งทางอารมณ์จึงเกิดขึ้นได้เสมอ พัฒนาการทางอารมณ์ของเด็กวัยนี้จึงขึ้นอยู่กับลักษณะการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ซึ่งมีผลสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความรู้สึกมั่นคงของเด็กต่อไป

พัฒนาการทางด้านความคิดและสังคม เด็กจะสนใจในสิ่งต่างๆ แล้วพยายามดัดแปลงให้มาสู่แบบฉบับของเขา ความสามารถในการเลียนแบบจะปรากฏออกมาในรูปของ การเรียนรู้ภายในขอบเขตความสามารถของตัวเอง ซึ่งมีพื้นฐานมาจากสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสังคม เด็กจะมองเห็นว่าพ่อแม่เป็นตัวแทนของสังคม เป็นแบบอย่างแก่เขา แต่เขายังต้องการตัวแบบอื่นๆ เพื่อการเปรียบเทียบด้วย เช่น เพื่อนของพ่อแม่ และพ่อแม่ของเพื่อน เป็นบุคคลสำคัญที่ใหม่สำหรับเขา นอกจากนี้เพื่อนบ้าน เพื่อนในโรงเรียน เป็นสิ่งสำคัญทางสังคมที่เขาจะพิจารณา และคนแปลกหน้ากลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเขา เด็กหญิงและเด็กชายจะแสวงหาผู้ใหญ่และบุคคลอื่นๆ เพื่อการวิเคราะห์ เขาคิดว่าพ่อแม่ยังไม่สมบูรณ์พอที่เขาจะเลียนแบบได้ครบทุกด้าน ในโลกของเด็กมีการสมมติตำแหน่งต่างๆ ที่สำคัญเหมือนผู้ใหญ่ เด็กมีความนับถือตนเองเป็นเกณฑ์เพื่อวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของตน เด็กจะแสวงหาตัวแบบจากครอบครัวที่มีลักษณะพิเศษออกไป ทางด้านการปรับตัวของเด็กในสังคม เด็กจะมีการยอมรับตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้โรงเรียน กลุ่มเพื่อนรุ่นเดียวกันและกลุ่มบุคคลทางศาสนา จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการปรับตัวของเด็กได้เป็นอย่างดี ในช่วงวัยนี้เด็กเริ่มเปลี่ยนความผูกพันจากครอบครัวไปสู่สถาบันอื่นในสังคม

พัฒนาการระยะนี้จะมีผลต่อระยะวัยรุ่น โดยทั่วไปเด็กวัยรุ่นมักต้องการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ชอบทำกิจกรรมต่างๆ สูงกว่าความสามารถตามการรับรู้ของตนเอง เป็นการทดลอง และเรียนรู้ศักยภาพ ของตนเอง ในขณะเดียวกันความกลัวความผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ก็เป็นแรงผลักดันให้เขาพยายามทำกิจกรรมนั้นๆ ให้สำเร็จ เด็กวัยรุ่นจะพยายามเอาชนะ เพื่อความสำเร็จซึ่งเป็นแนวทางไปสู่ความเชื่อมั่นในตัวเองเมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กล่าวได้ว่าเด็กวัยรุ่นมีพลังอย่างเพียบพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อความสำเร็จในการทำงาน มีความขยันขันแข็ง พยายามคิดทำ คิดผลิตสิ่งต่างๆ ให้เหมือนผู้ใหญ่ด้วยการทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจ การได้รับคำชมเชย เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกำลังใจ และมีความมานะพยายามมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามเด็กไม่ได้รับความสนใจ หรือผู้ใหญ่แสดงออกว่าสิ่งที่เขาทำเป็นเรื่องน่ารำคาญ เขาก็จะรู้สึกต่ำต้อย

การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
  1. แนะนำในเรื่องการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  2. แนะนำเรื่องการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเด็กวัยนี้ เด็กควรได้รับสารอาหารครบทุกหมู่ในปริมาณที่เพียงพอ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือเด็กวัยนี้มักสนใจการเล่นกับเพื่อนมากกว่าเรื่องการรับประทานอาหาร
การส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตใจ
  1. แนะนำเรื่องการรู้จักตนเอง การมองตนเองตามความเป็นจริง ด้วยการบริหารจิตใจ การทำสมาธิ การเสียสละเพื่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  2. ฝึกการผ่อนคลายความเครียดในลักษณะต่างๆ เช่น การผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย จินตภาพบำบัด หรือการทำงานอดิเรกที่ชอบ เช่น ฟังเพลง เล่นดนตรี อ่านหนังสือที่ชอบ วาดภาพ เป็นต้น
การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
  1. แนะนำเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนได้อย่างเหมาะสม ให้รู้จักการยืดหยุ่น รู้จักการแพ้ ชนะ และให้อภัย เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลตามสภาพความเป็นจริง เพื่อลดความคาดหวังจากผู้อื่นในทุกๆ ด้าน
  2. ฝึกพฤติกรรมการแสดงออกอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งพฤติกรรมทางด้านร่างกาย และคำพูด การจัดให้มีการแสดงบทบาทสมมติสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป
ขั้นที่ 5 ความเป็นอัตลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (Identity vs. Role Confusion) 
ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 13 – 20 ปี การแสวงหาอัตลักษณ์ของบุคคล และการเสริมสร้างความรับผิดชอบถือว่าเป็นเอกลักษณ์สำคัญของวัยนี้ ซึ่งความรับผิดชอบดังกล่าวมีรากฐานมาจากการอบรมของพ่อแม่ และความรู้สึกไว้วางใจและความมั่นใจในตนเอง องค์ประกอบสำคัญของการสร้างความรู้สึกเป็น อัตลักษณ์ และผ่านพ้นความรู้สึกสับสนในตนเอง ได้แก่ ความเข้าใจในอัตลักษณ์และการแสวงหาสถานภาพทางสังคม ความเข้าใจในอัตลักษณ์ช่วยให้เด็กวัยรุ่นเกิดความเข้าใจในปัญหาต่างๆ และช่วยในการตัดสินใจ วางแผนเรื่องเกี่ยวกับอนาคต เช่น การเลือกอาชีพ การเลือกคู่ครอง เป็นต้น ในวัยนี้เด็กวัยรุ่นจะเกิดความคิดสงสัยในตัวเอง เช่น การคิดถามตนเองว่า “ฉันคือใคร?” หรือ “ฉันจะทำอาชีพอะไรดี?” เนื่องจากระยะวัยรุ่นเป็นระยะ ที่มีความรู้สึกสับสน ขาดความมั่นใจ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจเพื่อเตรียมเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ปัญหาของเด็กวัยนี้มักเป็นไปในทำนองที่ว่า ฉันไม่รู้ว่าฉันควรจะทำอะไร ฉันไม่รู้ว่าฉันจะดำเนินชีวิตไปในทิศทางใด และฉันไม่รู้ว่าฉันเป็นใคร อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนวัยเดียวกัน และความรู้สึกได้รับการยอมรับจากสังคมแวดล้อม ซึ่งรวมถึงกลุ่มย่อยทางวัฒนธรรม และศาสนามีผลต่อการปรับตัวของวัยรุ่นอย่างยิ่ง เด็กวัยรุ่นจะค่อย ๆ พัฒนาความเป็นตัวของตัวเองขึ้น เขาจะแสวงหาตนตามอุดมคติ (Ego – ideal) และค้นหาอัตลักษณ์เพื่อปรับตัวให้เข้ากับบทบาทใหม่ในสังคม เราพบว่าเด็กวัยรุ่นตอนปลายจำนวนมากยังไม่สามารถค้นพบอัตลักษณ์ของตน เด็กวัยรุ่นที่ประสบอุปสรรคในพัฒนาการขั้นนี้จะขาดทักษะที่เหมาะสมในการแก้ไขสถานการณ์ คือเมื่อเผชิญปัญหามักจะหลบเลี่ยงมากกว่าที่จะแก้ไข ในขณะที่สถานการณ์ หรือปัญหาหนึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อปัญหาอื่นๆประดังเข้ามา ก็เกิดการสั่งสม และซับซ้อนของปัญหา กล่าวคือเด็กวัยรุ่นยังไม่มีทักษะที่ดีในการแก้ปัญหา อย่างไรก็ตามวัยรุ่นแต่ละคนย่อมต้องการเวลาในการเรียนรู้ และปรับตัวเพื่อการพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่และได้รับการยอมรับจากบุคคลรอบข้างในสังคม

พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางด้านร่างกายประกอบด้วยการเจริญเติบโต และเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างมาก รวมถึงพัฒนาการอัตลักษณ์ทางเพศที่ชัดเจน ในวัยนี้ ร่างกายของเขามีการผลิตฮอร์โมนเพศ (Sex hormone) และฮอร์โมนของการเจริญเติบโต (Growth hormone) อย่างมากและรวดเร็ว ส่งผลให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แขนขาจะยาวขึ้นก่อนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอื่นประมาณ 2 ปี ในเพศหญิงจะมีไขมันมากกว่าเพศชาย วัยรุ่นชายจะมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมากกว่า ทำให้เพศชายดูแข็งแรงกว่า ระหว่างวัยรุ่นเพศชายและวัยรุ่นเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเพศที่ต่างกันอย่างชัดเจน อาทิเช่น วัยรุ่นชายจะเป็นหนุ่มขึ้น เสียงแตก หนวดเคราขึ้น และเริ่มมีฝันเปียก ส่วนวัยรุ่นหญิงจะเป็นสาวขึ้นคือ เต้านมมีขนาดโตขึ้น ไขมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รูปร่างมีทรวดทรง สะโพกผายออก และเริ่มมีประจำเดือน นอกจากนี้ระดับสติปัญญา ความคิดจะพัฒนาสูงขึ้น คือมีความคิดเป็นแบบรูปธรรมมากขึ้นกว่าวัยก่อนหน้านี้ มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์สิ่งต่างๆได้มากขึ้นตามลำดับ จนเมื่อพ้นวัยรุ่นแล้วจะมีความสามารถทางสติปัญญาได้เหมือนผู้ใหญ่ แต่ในช่วงวัยรุ่นนี้ เด็กวัยรุ่นอาจขาดความยั้งคิด มีความหุนหันพลันแล่น ซึ่งการวิจัยพบว่าพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นผลมาจาก การเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย คือการผลิตฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในสมอง และร่างกายของวัยรุ่น

พัฒนาการทางอารมณ์ ในช่วงวัยนี้อารมณ์จะปั่นป่วน เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย โกรธง่าย อาจเกิดอารมณ์ซึมเศร้าโดยไม่มีสาเหตุได้ง่าย อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านี้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมเกเร ก้าวร้าว มีผลต่อการเรียนและการดำเนินชีวิต ในวัยรุ่นตอนต้น การควบคุมอารมณ์ยังไม่ค่อยดีนัก บางครั้งยังทำอะไรตามอารมณ์ตัวเองอยู่บ้าง แต่จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น อารมณ์เพศวัยนี้จะมีมาก ทำให้มีความสนใจเรื่องทางเพศ หรือมีพฤติกรรมทางเพศ เช่น การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติในวัยนี้ แต่พฤติกรรมบางอย่างอาจเป็นปัญหา เช่น เบี่ยงเบนทางเพศ กามวิปริต หรือการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น

พัฒนาการทางจริยธรรม วัยนี้จะมีความคิดเชิงอุดมคติสูง (Idealism) เพราะเขาสามารถแยกแยะความผิดชอบชั่วดีได้

มีมโนธรรม ต้องการให้มีความถูกต้อง ความชอบธรรมในสังคม ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ต้องการเป็นคนดี เป็นที่ชื่นชอบของคนอื่น และจะรู้สึกอึดอัดคับข้องใจกับความไม่ถูกต้องในสังคม หรือในบ้าน แม้แต่พ่อแม่ของตนเองเขาก็เริ่มรู้สึกว่าไม่ได้ดีสมบูรณ์แบบเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไปแล้ว บางครั้งเขาจะแสดงออก ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์พ่อแม่ หรือครู อาจารย์ตรงๆ การต่อต้าน ประท้วงจึงเกิดได้บ่อยในวัยนี้ เมื่อเขาเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง หรือมีการเอาเปรียบ เบียดเบียน ความไม่เสมอภาคกัน เมื่อพ้นวัยรุ่นตอนต้นไป การควบคุมตนเองจะดีขึ้น จนเป็นระบบจริยธรรมที่สมบูรณ์เหมือนผู้ใหญ่

พัฒนาการทางสังคม วัยนี้จะเริ่มห่างจากทางบ้าน ไม่ค่อยสนิทสนมคลุกคลีกับพ่อแม่พี่น้องเหมือนเดิม แต่จะสนใจเพื่อนมากกว่า จะใช้เวลากับเพื่อนนานๆ มีกิจกรรมนอกบ้านมาก ไม่อยากไปไหนกับทางบ้าน เริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม สนใจสังคมสิ่งแวดล้อม ปรับตัวเองให้เข้ากับกฎเกณฑ์กติกาของกลุ่ม ของสังคมได้ดีขึ้น มีทักษะทางสังคมมากขึ้น รู้จักการสื่อสารเจรจา การแก้ปัญหา การประนีประนอม การยืดหยุ่นโอนอ่อน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น พัฒนาการทางสังคมที่ดีจะเป็นพื้นฐานมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ความภาคภูมิใจในตนเอง และบุคลิกภาพที่ดี

ถ้าบุคคลไม่สามารถปรับตัว หรือพบอุปสรรคในพัฒนาการขั้นนี้ เขาจะเกิดความรู้สึกรุนแรง ซึ่งมีผลต่อบุคลิกภาพ และการแสดงออกของเขา การได้พูดหรือได้แสดงความคิดเห็นต่อหน้าคนหมู่มากนับว่าเป็นประโยชน์เป็นการแสวงหาอัตลักษณ์ของตัวเองอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นวัยรุ่นจะเลือกผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่พ่อแม่ มาเป็นแบบอย่างที่มีความหมาย และเป็นที่ไว้วางใจของเขา วัยรุ่นจะมองคุณค่าของวัฒนธรรม ศาสนา และอุดมคติว่า เป็นสิ่งที่ดีงาม และเป็นสิ่งที่สนับสนุนส่งเสริมพัฒนาการและการแสวงหาอัตลักษณ์ของเขา ถ้าเขาประสบความสำเร็จในการแสวงหาตนเอง เขาจะสามารถแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเขาไม่สามารถฟันฝ่าอุปสรรค ปัญหาต่างๆ และไม่มั่นใจในอัตลักษณ์ของตน เขาจะเกิดความสับสนและแสดงบทบาทที่ไม่เหมาะสม

ประเด็นปัญหาที่พบได้บ่อยในวัยรุ่น ได้แก่ ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ หรือบุคคลในครอบครัว การใช้สารเสพติด ปัญหาเกี่ยวกับประเด็นทางเพศ ปัญหาบุคลิกภาพ และพฤติกรรมที่ขัดต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ

ปัญหาความสัมพันธ์กับพ่อแม่ วัยนี้จะแสดงพฤติกรรมที่แสดงความเป็นตัวตนของเขาค่อนข้างมาก การพูดจาไม่ค่อยเรียบร้อยซึ่งอาจเลียนแบบมาจากกลุ่มเพื่อน อารมณ์แปรปรวน ไม่มีความสม่ำเสมอต่อความรับผิดชอบต่าง ๆ เอาแต่ใจตัวเอง ทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูอาจารย์หงุดหงิดไม่พอใจได้มากๆ ถ้าบุคคลรอบข้างไม่เข้าใจ การแสดงออกเหล่านี้ และใช้วิธีการจัดการที่ไม่ถูกต้อง เช่น ใช้การดุด่าว่ากล่าว บ่นตำหนิ หรือลงโทษรุนแรง จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ซึ่งไม่ช่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านั้น วิธีการจัดการกับปัญหาพฤติกรรมเหล่านี้ ทำได้โดยเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจความต้องการของเขา มีการตอบสนองโดยประนีประนอมยืดหยุ่น แต่ยังคงขอบเขตที่เหมาะสม ควรใช้การจูงใจ ให้วัยรุ่นได้ออกความคิด และร่วมมือโดยสมัครใจมากกว่าการบังคับ หรือการใช้ความรุนแรง

ปัญหาการใช้สารเสพติด ตามธรรมชาติของวัยรุ่นจะมีความอยากรู้อยากเห็นอยากลองมาก การที่อยู่ใกล้ชิดกับกลุ่มเพื่อนที่ใช้สารเสพติด ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกชักจูงให้ใช้สารเสพติดต่างๆ วัยรุ่นส่วนใหญ่ไม่กล้าปฏิเสธเพื่อนเพราะกลัวเพื่อนไม่คบ หรือถูกเพื่อนท้าทาย หรือบางคนใช้เพราะอยากให้เหมือนเพื่อนๆ เพื่อให้ได้รับ การยอมรับ เมื่อลองแล้วเกิดความพอใจ และติดสารเสพติดเหล่านั้นไป

ปัญหาทางเพศ พฤติกรรมรักร่วมเพศ (Homosexualism) เป็นพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้มาก คนที่เป็นรักร่วมเพศมักจะเจอปัญหาในการดำเนินชีวิตได้มากกว่าคนทั่วไป ในบางสังคมมีการต่อต้านพฤติกรรมรักร่วมเพศ มีการรังเกียจ ล้อเลียน ไม่ยอมรับ บางประเทศมีกฎหมายลงโทษผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน

รักร่วมเพศ คือพฤติกรรมที่พึงพอใจทางเพศกับเพศเดียวกัน อาจมีการแสดงออกภายนอกให้เห็นชัดเจนหรือไม่ก็ได้ พฤติกรรมรักร่วมเพศอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี เช่น เด็กผู้ชายถูกเลี้ยงดูมาท่ามกลางญาติพี่น้องที่มีแต่ผู้หญิง อาจทำให้อยากมีความเป็นผู้หญิงเหมือนกัน และก็เกิดชอบเพศชายด้วยกัน เพราะมีความคิดว่าตนเองเป็นเพศหญิง เป็นต้น

การรักษาผู้ที่เป็นรักร่วมเพศ มักไม่ได้ผล เนื่องจากผู้ที่เป็นรักร่วมเพศมักจะพอใจในลักษณะแบบนี้อยู่แล้ว การช่วยเหลือทำได้โดยการให้คำปรึกษาผู้ที่เป็นพ่อแม่ และผู้ป่วย เพื่อให้ปรับตัวได้ ไม่รังเกียจลูกที่เป็นแบบนี้ และการพูดคุยเพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าใจและแสดงออกอย่างเหมาะสม ไม่มากเกินไปจนเกิดการรังเกียจ และต่อต้านจากคนใกล้ชิด หรือเพื่อนบ้านในชุมชน การป้องกันภาวะรักร่วมเพศ ทำได้โดยการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่เพศเดียวกับเด็ก เพื่อให้มีการถ่ายทอดแบบอย่างทางเพศจากพ่อหรือแม่เพศเดียวกับเด็ก

การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (Masturbation) ในวัยรุ่นถึงว่าเป็นพฤติกรรมปกติ ไม่มีอันตราย ไม่มีผลเสียต่อร่างกายหรือจิตใจ แต่ว่าควรแนะนำให้เด็กได้เห็นถึงความเหมาะสมของเวลาและสถานที่ ไม่ควรหมกมุ่นมากจนเป็นปัญหาต่อการใช้เวลา ทำให้ขาดการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์มากกว่า

การมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น (Sexual Relationship) มักเกิดจากวัยรุ่นที่ขาดการยับยั้งชั่งใจ หรือมีปัญหาทางอารมณ์ และใช้เพศสัมพันธ์เป็นการทดแทน เพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นมักไม่ได้ยั้งคิดให้รอบคอบ ขาดการไตร่ตรอง ทำตามอารมณ์เพศ หรืออยู่ภายใต้ฤทธิ์ของสารเสพติด ทำให้เกิดปัญหาการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์เมื่อยังไม่พร้อม การทำแท้ง การเลี้ยงลูกที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาครอบครัว และกลายเป็นปัญหาสังคมในที่สุด

ปัญหาบุคลิกภาพ ช่วงวัยรุ่นจะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพอย่างชัดเจน ทั้งนิสัยใจคอ ความคิด การกระทำ มีรูปแบบที่สม่ำเสมอ จนสามารถคาดการณ์ได้ว่าในเหตุการณ์แบบนี้ เขาจะแสดงออกอย่างไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ และการเรียนรู้ที่ผ่านมา จะทำให้วัยรุ่นมีบุคลิกภาพดีด้วย แต่ในทางตรงข้าม การประสบ อุปสรรคต่างๆ เช่น การขาดผู้ปกครองคอยดูแล สั่งสอน หรือการเรียนรู้แบบผิดๆ จะทำให้วัยรุ่นมีปัญหาบุคลิกภาพได้ ทำให้เขาปรับตัวเข้ากับคนอื่นยาก และเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ในกรณีที่เป็นปัญหามากๆ อาจนำไปสู่อาการผิดปกติทางบุคลิกภาพ (Personality Disorders)

อาการพฤติกรรมเกเร (Conduct Disorder) เป็นโรคที่มีปัญหาพฤติกรรมกลุ่มที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน โดยตนเองพอใจ ได้แก่ การละเมิดสิทธิผู้อื่น การขโมย ฉ้อโกง ตีชิงวิ่งราว ทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ เกเร หรือละเมิดกฎเกณฑ์ของหมู่คณะหรือสังคม การหนีเรียน ไม่กลับบ้าน หนีเที่ยว โกหก หลอกลวง ล่วงเกินทางเพศ การใช้สารเสพติด อาการดังกล่าวนี้มักจะเกิดขึ้นต่อเนื่องมานานพอสมควร สัมพันธ์กับปัญหาในครอบครัว การเลี้ยงดู ปัญหาอารมณ์ การรักษาควรรีบทำให้เร็วที่สุด เพราะการปล่อยไว้นาน จะยิ่งเรื้อรังรักษายาก และกลายเป็นบุคลิกภาพแบบอันธพาล ตและต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

การป้องกันปัญหาวัยรุ่น 1. การเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง ให้ความรักความอบอุ่น
2. การฝึกให้รู้จักระเบียบวินัย การควบคุมตัวเอง
3. การฝึกทักษะชีวิต ให้แก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง มีทักษะในการปฏิเสธสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
4. การสอนให้เด็กรู้จักคบเพื่อน ทักษะสังคมดี
5. การฝึกให้วัยรุ่นได้เรียนรู้ และเสริมสร้างอัตลักษณ์

ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดสนิทสนมกับความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง (Intimacy vs. Isolation) 
บุคคลในขั้นนี้อยู่ช่วงอายุประมาณ 21 – 35 ปี เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ที่สามารถหาอัตลักษณ์ของตนเองได้จากช่วงก่อนแล้ว บุคคลในช่วงอายุนี้จะรู้จักตนเอง รู้ว่าตนเองมีความเชื่ออย่างไร ต้องการอะไรในชีวิต เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่จะรับและแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ที่ตนมีอยู่ แบ่งปันความเชื่อถือ ความสุข และความต้องการของตนแก่ผู้อื่น นั่นคือ คู่สมรส หรือเพื่อนสนิท จึงมีการพัฒนาความรู้สึกผูกพันกับผู้อื่น แต่ถ้าบุคคลไม่สามารถสร้างความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกับผู้อื่นได้ มีความต้องการแข่งขันหรือทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่น ก็จะนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้าง

บุคคลในช่วงนี้มีความเป็นอิสระในสังคมมากกว่าวัยก่อนๆ ในช่วงต้น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม ความสมบูรณ์ของจิตใจในช่วงนี้คือ การได้รับการยอมรับ มีความก้าวหน้า มีอาชีพที่เหมาะสม มีการสมาคมกับเพศตรงข้ามเพื่อการเลือกคู่ครองต่อไป การปรับตัวของผู้ใหญ่ในวัยนี้คือ การเลือกคู่ครอง และการมีหน้าที่การงานที่เหมาะสม รวมทั้งการเข้ากันได้ดีกับเพื่อนร่วมงาน การไม่สามารถปรับตัวได้จะทำให้บุคคลแยกตัวออกไปจากสังคมและครอบครัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ แม้บางคนที่แต่งงานแล้ว แต่ไม่สามารถแบ่งปันชีวิต และกิจกรรมกับคู่สมรสได้ จะรู้สึกโดดเดี่ยว และส่งผลต่อการปรับตัวของบุตร เมื่อบุตรเติบโตและ ออกไปเผชิญชีวิตในสังคมภายนอก ดังนั้น งานและความรัก จึงเป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลในช่วงวัยนี้ประสบความสำเร็จในชีวิต

องค์ประกอบที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จ ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นนี้ประกอบด้วย
  1. ประสิทธิภาพทางร่างกาย วัยนี้เป็นช่วงที่ร่างกายมีความกระฉับกระเฉงสูงสุด และมีพลังเต็มที่ และจากนั้นก็จะค่อยๆ ลดลง ผู้ที่ทำงานหนักจึงต้องคำนึงถึงสุขภาพด้วยเช่นกัน
  2. ประสิทธิภาพของสมอง คนที่มีสติปัญญาดีจะมีความสามารถในการเรียนรู้ การทำงานและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีความมั่นใจในตนเอง และรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ตนทำงานอยู่ได้
  3. สุขภาพจิต ผู้ที่อยู่ในวัยนี้ ควรฝึกฝนจิตใจให้เข้มแข็งเพื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยอมรับความจริง ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีจะเป็นผู้ที่มีความร่าเริง เบิกบาน มีผู้ชอบคบหาด้วย และมักจะมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเสมอ
  4. การปรับตัวในงานอาชีพ อาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น ส่วนหนึ่งคือ การประสบความสำเร็จในอาชีพการงานของตน ดังนั้นผู้ที่ประสบความสำเร็จในงานก็ย่อมนำความสุขมาสู่ตนเอง และครอบครัว
  5. การปรับตัวในชีวิตครอบครัว หากบุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับคู่สมรสได้ดี ย่อมมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และร่วมกันฝ่าฟันอุปสรรคปัญหา และเป็นกำลังใจซึ่งกันและกัน หากไม่สามารถปรับตัวเข้ากันได้ก็จะนำไปสู่ปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง และการหย่าร้างในที่สุด
บทบาทเหล่านี้ถือเป็นบทบาทใหม่ที่ต้องอาศัยความอดทน ความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน และการมีวุฒิภาวะทางจิตใจ ซึ่งผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตครอบครัว ส่วนใหญ่ก็จะมีความสำเร็จในชีวิตการงานด้วยเช่นกัน

ขั้นที่ 7 การสืบทอดกับการคำนึงถึงแต่ตนเอง (Generativity vs. Self absorption/ Stagnation) 
ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 36 – 59 ปี เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน เป็นระยะที่บุคคลมีครอบครัว มีบุตร และเลี้ยงดูบุตรด้วยความเอาใจใส่ ในระยะนี้บุคคลต้องการมีบุตรไว้สืบสกุล การจะมีบุตรซึ่งถือว่าเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวนั้นต้องมาจากรากฐานของความรักและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน บุคคลที่ไม่สามารถพัฒนามาถึงขั้นนี้ย่อมเกิดความรู้สึกท้อถอยและเหนื่อยหน่ายในชีวิต คิดถึงแต่ตนเอง เริ่มมีความเจ็บป่วยเรื้อรัง และปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ไม่เตรียมสภาพแวดล้อมที่ดีให้แก่ชนรุ่นหลัง ทำงานอย่างขาดความรับผิดชอบ ปล่อยปละละเลย เป็นต้น

นอกจากนี้ในช่วงวัยนี้ยังเป็นวัยที่สนใจและต้องการสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม โดยความรู้สึกต่อสังคมนั้นจะเข้ามารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชีวิตส่วนตัว รู้จักแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเอง ปัญหาครอบครัว และเลี้ยงดูบุตรด้วยความเอาใจใส่ ระยะนี้เป็นระยะที่บุคคลตั้งใจทำงานเพื่อให้สิ่งต่างๆดีขึ้น รวมทั้งพัฒนาการทางจริยธรรมก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน

ในวัยนี้จะมีความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่
  1. ความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา ท่าทาง และประสาทสัมผัส ตลอดจนการทำงานของต่อมต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลง จึงเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพอารมณ์ด้วย เช่น หงุดหงิด กังวล เป็นต้น
  2. ความเปลี่ยนแปลงในหน้าที่การงาน ในระยะนี้อาจมีการโยกย้ายงานไปยังตำแหน่งหรือหน้าที่ใหม่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความกังวลใจได้
  3. ความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ บุคคลในวัยนี้มักมีความกังวลในสุขภาพร่างกาย และมีความเป็นห่วงในหน้าที่การงาน จึงมีผลกระทบต่ออารมณ์ ทำให้มีการแปรเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น โกรธง่าย เป็นต้น
  4. ความเปลี่ยนแปลงในด้านความสนใจ ในวัยนี้จะมีความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่ลึกซึ้งเป็นพิเศษ มีการทำงานอดิเรกต่างๆ เพื่อหาความสุขให้แก่ตนเอง
โดยส่วนใหญ่ความสุขของคนวัยกลางคนคือ การมีความสุขสงบในชีวิตครอบครัว มีคู่ครองและบุตรที่ดี ประสบความสำเร็จในอาชีพ โดยมีงานที่มีเกียรติ มีผู้ให้ความเคารพนับถือ และมีหน้าที่การงานไม่มัวหมอง นอกจากนี้ยังมีการใช้เวลาว่างและร่างกายให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและครอบครัวด้วย


ขั้นที่ 8 ความมั่นคงสมบูรณ์ในชีวิตกับความสิ้นหวัง (Integrity vs. Despair) 
ขั้นนี้อยู่ในช่วงอายุ 60 – 80 ปี นั่นคือ เข้าสู่วัยชรา พัฒนาการขั้นสุดท้ายนี้มีพื้นฐานจากการปรับตัวในช่วงต้นของชีวิต บุคคลในช่วงวัยนี้มักแสวงหาความมั่นคงภายในจิตใจ ซึ่งเกิดเมื่อบุคคลสามารถผ่านพัฒนาการในขั้นต่างๆ มาได้อย่างดี เป็นวัยของการยอมรับความเป็นจริง ใช้คุณค่าจากประสบการณ์ ที่สั่งสมมา ให้เป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลัง และเป็นช่วงของการระลึกถึงความทรงจำในอดีต ถ้าในอดีตที่ผ่านมาบุคคลมีความสุข ประสบความสำเร็จในพัฒนาการ และสิ่งต่างๆ รอบตัว ก็จะมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ แต่ในทางตรงข้ามถ้าบุคคลมีความทรงจำที่ผิดหวังอยู่ตลอด และพบปัญหาอุปสรรคในพัฒนาการของช่วงที่ผ่านมา จะมีความรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง เหนื่อยหน่ายกับชีวิต วิตกกังวลกับอดีตที่ไม่ดีงามของตนเอง ขาดกำลังใจในการต่อสู้ และไม่สามารถพัฒนาชีวิตในวัยชราได้อย่างมีความสุข

ผู้ที่สามารถปรับตัวได้ในช่วงเกษียณอายุการทำงานจะเห็นว่า ตนได้ทำประโยชน์แก่สังคมอย่างเต็มที่แล้ว เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง มีความพอใจในชีวิต รู้จักหาความสุข ความสงบในจิตใจ ยอมรับกับสภาพความเป็นจริง และความเป็นอยู่ของตนเองในปัจจุบัน และไม่รู้สึกเสียใจ หรือเสียดายเวลาที่ผ่านมากับ ประสบการณ์ในอดีตของตนเอง

วัยชราเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางด้านต่างๆ ถดถอยลง สมรรถภาพของผู้ชราในวัยเดียวกันก็อาจมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาสุขภาพ แต่โดยหลักๆ จะพบความเสื่อมถอยของพัฒนาการในด้านต่างๆ ดังนี้
  1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย สภาพร่างกายมีการเสื่อมถอย มีความเจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆ และใช้เวลานานกว่าคนหนุ่มสาวในการฟื้นจากความเจ็บป่วย กล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพ การทรงตัวไม่ดี
  2. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา หลงลืมง่าย ความจำเลอะเลือน แต่เหตุผลยังดี ทักษะในการคิดริเริ่มอาจจะไม่คล่องแคล่วเหมือนก่อน และความรอบคอบลดลง แต่พบว่า พัฒนาการทางด้านสมองยังดีกว่าทางด้านร่างกาย
  3. พัฒนาการทางด้านอารมณ์ มีอารมณ์ไม่คงที่ ชอบบ่น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สังคม และประสบการณ์ที่ผ่านมาด้วย ความพอใจของวัยชรานี้ส่วนใหญ่เกิดจากมิตรภาพและประสบการณ์ที่ตนเองได้ช่วยเหลือผู้อื่น
  4. พัฒนาการทางด้านสังคม วัยชราส่วนมากจะให้ความสนใจทางศาสนา หรือเป็นผู้ให้ ความสนับสนุนดูแลลูกหลานในครอบครัว
ภาพการนำเสนองานของกลุ่มอื่น