วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561

คาบเรียนที่ 14

ชื่อวิชา  (ภาษาไทย)             การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ชื่อวิชา  (ภาษาอังกฤ)        Child Care for Early Childhood 
รหัสวิชา    EAED 1103         จำนวนหน่วยกิต  3(3-0-6)    
ผู้สอน        ว่าที่ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด

นำเสนอแนวการอบรม คุณธรรมจริยธรรมโดยการจับกลุ่ม ในหัวข้อ

 ๘ คุณธรรมพื้นฐาน กลุ่มของพวกเราเลือก " ขยัน "



อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก


หลักการจัดอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2546)
1. ควรจัดอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสม และมีการเตรียมที่สะอาดปลอดภัย ควรเน้นกรรมวิธีผ่านความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรคจนแน่ใจว่าสะอาด ผักสดและผลไม้ต้องล้างให้สะอาด เนื้อสัตว์ต้องปรุงสุกเสมอ การเตรียมอาหารไม่ควรนานเกิน       2 ชั่วโมงก่อนให้เด็กรับประทาน อาหารที่ปรุงเสร็จหรือล้างสะอาดแล้ว ควรเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดป้องกันแมลงและฝุ่นต่างๆ (สำนักอนามัยและสิ่งแวดล้อม, 2547)
2. ควรให้ร่างกายได้รับไขมันที่พอเหมาะ คือประมาณร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด ในเด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับน้ำมันพืชและไขมันจากสัตว์ และนม และควรเลือกใช้น้ำมันที่ให้กรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันจากปลาทะเล เด็กวัย 1-3 ปี รับประทานไข่ได้วันละ 1 ฟอง
3. ควรให้เด็กรับประทานน้ำตาลแต่พอควร การรับประทานน้ำตาลทรายที่ใส่ในอาหาร ขนม และเครื่องดื่มมากเกินไปจะทำให้เกิดโทษ เช่น ฟันผุ และยังเป็นสาเหตุให้มีการสร้างไขมันไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจขาดเลือดและโรคเบาหวานในอนาคต ควรรับประทานอาหารคาร์โบไฮเดรตประเภทธัญพืช ซึ่งเมื่อย่อยแล้วจะให้น้ำตาล ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้และยังได้รับสารอาหารชนิดอื่นเพิ่มเติมด้วย
4. ควรให้เด็กรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ อาหารที่ให้ใยอาหารเป็นส่วนของพืชที่ร่างกายย่อยไม่ได้ จึงเหลือเป็นกากอยู่ในลำไส้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณอุจจาระ กระตุ้นการขับถ่ายของร่างกายให้สม่ำเสมอ มีการศึกษาพบว่าจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่สารพิษสัมผัสกับผนังลำไส้เป็นเวลานาน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลำไส้โป่งพอง ริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งบางชนิด โรคไขมันสูงในเลือดเมื่อเติบใหญ่ ผักที่มีประโยชน์สูง ได้แก่ผักที่มีสีเขียวสด เช่น ผักตำลึง ผักบุ้ง ผักคะน้า ฯลฯ ผักสีแดง สีเหลือง สีแสด เช่น มะเขือเทศสุก ฟักทอง  เป็นต้น ในวันหนึ่งๆ ควรได้รับผักอย่างน้อย 1-2 ชนิด
5. ควรให้เด็กรับประทานอาหารรสธรรมชาติ งดเว้นอาหารรสจัดทุกชนิด ควรลดการใช้เกลือและอาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะอาหารรสเค็มจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว อาหารหมักดองอื่นๆ รวมถึงเครื่องดื่มบางชนิดที่มีโซเดียมสูงด้วย
6. ควรให้เด็กรับประทานอาหารที่มีส่วนป้องกันโรคมะเร็ง ได้แก่ การเพิ่มผักและผลไม้ให้มากขึ้น ละเว้นอาหารที่ไหม้เกรียมอาหารที่มีความชื้นจนเกิดเชื้อรา จำกัดปริมาณไขมันโดยเฉพาะที่มาจากสัตว์ และไขมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัว ควรหลีกเลี่ยงอาหารใส่สีและสารเคมี
7. ควรให้เด็กรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม และสะดวกแก่การรับประทานเนื่องจากระบบทางเดินอาหารของเด็กยังเติบโตไม่เต็มที่ กระเพาะอาหารยังมีขนาดเล็ก การจัดอาหารให้เด็กจึงควรมีความพอเหมาะ เด็กที่เล็กมากควรแบ่งมื้ออาหารให้มากขึ้น ขนาดของอาหารควรหั่นเป็นชิ้นเล็กที่สะดวกในการตักและเคี้ยว นอกจากนี้เด็กในวัยนี้ยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องปริมาณของอาหารที่เหมาะสม บางวันอาจรับประทานได้มาก บางวันอาจรับประทานได้น้อย หากเด็กรับประทานอาหารน้อยผู้จัดอาหารไม่ควรวิตกกังวลมาก ควรหาวิธีจูงใจให้เด็กอยากรับประทานอาหารและถ้าเด็กไม่ยอมรับประทานควรแยกอาหารชนิดนั้นออกไปก่อน ปล่อยให้เด็กได้ปรับตัวในการรับประทานอาหารมื้อต่อไป (กองโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณะสุข, 2546)

 ข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมอาหารของเด็กในวัยทารก

1. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนจับต้องอาหาร

2. ใช้ภาชนะที่สะอาด โดยจัดเก็บอย่างมิดชิดไม่ให้แมลงวันหรือแมลงอื่นๆไต่ตอม

3. อาหารที่ปรุงทุกชนิดต้องล้างให้สะอาด ภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มและประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ จาน ชาม มีด ต้องล้างให้สะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้งแยกภาชนะของเด็กและผู้ใหญ่รวมไปถึงมือของผู้ประกอบอาหารก็ต้องสะอาดด้วย

4. อาหารและน้ำจะต้องสุกทั่วถึงและทิ้งระยะเวลาให้อุ่นลงไม่ร้อนจัดเวลานำมาป้อนเด็ก หากเด็กกินเหลือไม่ควรเก็บไว้

5. อาหารของเด็กจะต้องมีรสธรรมชาติ ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติเกินธรรมชาติ เช่น ไม่เค็ม หวาน เปรี้ยวเกินไป หรือไม่ควรใส่ผงชูรส

6. ต้มหรือตุ๋นข้าวจนสุกและ แล้วนำมาบดให้ละเอียดโดยใช้กระชอนหรือใส่ในผ้าขาวบางห่อแล้วบีบรูดออกหรือบดด้วยช้อนก็ได้

7. สับหมู หั่นผักให้ละเอียดก่อนนำไปหุงต้ม ส่วนตับให้ต้มให้สุกแล้วต่อยยีให้ละเอียด

8. ให้กินเนื้อปลาสุกโดยการย่างหรือนึ่ง หรือต้ม ไม่ควรให้กินหนังปลา

9. ให้กินน้ำแกงจืดผสมกับข้าว โดยใช้แกงจืดหรือน้ำผัดผักแต่ต้องไม่เค็ม

10. เด็กที่มีอายุ 7 เดือนแล้วกินถั่วเมล็ดแห้งได้ อาจน้ำไปหุงต้มปนไปกับข้าวหรือจะนำไปทำเป็นขนมผสมกับน้ำตาลและนม

ข้อควรคำนึงในการให้อาหารแก่เด็กทารก

1. อย่าให้อาหารอื่นใดนอกจากนมแม่ในระยะ 4 เดือนแรกเพราะจะทำให้เด็กทารกรับประโยชน์จากนมแม่ไม่เต็มที่

2. เพื่อเป็นการหัดให้เด็กคุ้นเคย ควรเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ตามที่แนะนำไว้

3. เริ่มให้อาหารทีละอย่าง ทีละน้อยๆ

4. อาหารทุกชนิดควรใช้ช้อนเล็กๆป้อนเพราะต้องการให้เด็กรู้จักกินอาหารจากช้อน

5. ควรทิ้งระยะในการที่จะเริ่มอาหารใหม่แต่ละชนิดเพื่อดูการยอมรับของเด็กทารกและเพื่อสังเกตดูว่าทารกแพ้อาหารหรือไม่

6. ควรจัดให้กินอาหารของเหลวก่อน

7. ให้กินน้ำต้มสุกหลังอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ต่างๆได้สมบูรณ์และช่วยในการขับถ่ายของเสียรวมทั้งทำความสะอาดช่องปากของเด็กทารก

8.เมื่อเด็กทารกเริ่มมีฟันขึ้น ให้กินอาหารสับละเอียดไม่ต้องบดเพื่อฝึกให้เด็กหัดเคี้ยว

9. ให้อาหารที่สดใหม่และทำสุกใหม่ๆ

10. อย่าบังคับเด็กกินเมื่อเด็กไม่ต้องการ ให้พยายามลองใหม่วันถัดไป

11. อย่าให้เด็กกินอาหารเค็มจัดและหวานจัด

การจัดรายการอาหารและการจัดอาหารสำหรับเด็ก 

1. อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวก ของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียวที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการและเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้าวผัดเด็ก

2.อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วอิ่มใช้สำหรับเสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเข้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลยและก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อเสริมหากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างไปก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่ายผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกี๊ยว

3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหารหลักได้จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียวควรเลือกขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วยผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วุ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น